เทคนิคการใช้แฟลช Flash :By Tuttoo
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแฟลช (ในที่นี้เราคงไม่ต้องย้อนยุคไปใน สมัยก่อนนะครับ เดี๋ยวมันจะงงเอาแค่ปัจจุบันก็พอ) แฟลชหรือแสงอาทิตย์เทียม ที่สามารถทำให้เราถ่ายภาพได้ในทุกที่และทุกเวลา ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึง แฟลชแค่สามระบบ คือ
1. แฟลชระบบแมนนวล Manual
2. แฟลชระบบออโต้ Auto
3. แฟลชระบบ TTL ( Through the lens )
2. แฟลชระบบออโต้ Auto
3. แฟลชระบบ TTL ( Through the lens )
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนนะครับ ว่าแฟลชทุกตัวจะมีค่ากำกับความแรงของตัวแฟลช โดยเรียกว่าค่า
ไก ด์นัมเบอร์ Guide number (GN.) โดยยึดค่าไว้ที่ ISO 100/m (อ่านว่า ISO 100 ต่อเมตร) แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าแฟลชเรามีค่า ไกด์นัมเบอร์เท่าไหร่ เราก็จะใช้สูตรคำนวณระยะทางคูณกับช่องรับแสง เช่น วัตถุที่เราจะถ่ายวางอยู่ในระยะ 5 เมตร สมมุติว่าเราถ่ายภาพโดยใช้แสงแฟลชได้ภาพออกมาพอดีที่ค่า F 11 เราก็เอา มาคูณกันก็จะได้ค่าไกด์นัมเบอร์แฟลชที่ 55 ทีนี้พอเราทราบค่า ไกด์นัมเบอร์แฟลชแล้ว เราก็สามารถเอาไปคำนวณกลับได้ โดยการใช้ค่าไกด์นัมเบอร์หารด้วยช่องรับแสง (GN / F-number) เราก็จะทราบระยะที่แฟลชจะไปถึงวัตถุ แต่ในยุคดิจิตอลเราสามารถที่จะเห็นผลทันทีที่เราถ่าย ซึ่งต่างจากสมัยฟิล์มที่ต้องนำฟิล์มไปล้างก่อนทำให้ต้องคอยจดบันทึกไว้ แต่ที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อเป็นการปูทางให้พอได้เข้าใจบ้างเล็กๆ น้อยๆ
ไก ด์นัมเบอร์ Guide number (GN.) โดยยึดค่าไว้ที่ ISO 100/m (อ่านว่า ISO 100 ต่อเมตร) แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าแฟลชเรามีค่า ไกด์นัมเบอร์เท่าไหร่ เราก็จะใช้สูตรคำนวณระยะทางคูณกับช่องรับแสง เช่น วัตถุที่เราจะถ่ายวางอยู่ในระยะ 5 เมตร สมมุติว่าเราถ่ายภาพโดยใช้แสงแฟลชได้ภาพออกมาพอดีที่ค่า F 11 เราก็เอา มาคูณกันก็จะได้ค่าไกด์นัมเบอร์แฟลชที่ 55 ทีนี้พอเราทราบค่า ไกด์นัมเบอร์แฟลชแล้ว เราก็สามารถเอาไปคำนวณกลับได้ โดยการใช้ค่าไกด์นัมเบอร์หารด้วยช่องรับแสง (GN / F-number) เราก็จะทราบระยะที่แฟลชจะไปถึงวัตถุ แต่ในยุคดิจิตอลเราสามารถที่จะเห็นผลทันทีที่เราถ่าย ซึ่งต่างจากสมัยฟิล์มที่ต้องนำฟิล์มไปล้างก่อนทำให้ต้องคอยจดบันทึกไว้ แต่ที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อเป็นการปูทางให้พอได้เข้าใจบ้างเล็กๆ น้อยๆ
ปล. สำหรับท่านที่ใช้แฟลชรุ่นสูงๆ หรือของยี่ห้อกล้องเอง หรือแฟลชที่มีระบบออโต้ซูมหัวแฟลชอัตโนมัตินั้น ต้องทำการปรับแฟลชให้เป็นระบบแมนนวลซูมก่อน โดยตั้งค่าซูมหัวแฟลชไว้ที่ 35 mm.
ค่า ISO กับความแรงแฟลช - ค่า ISO มีส่วนช่วยเพิ่มความแรงของแฟลชได้ โดยการเพิ่ม ISO แต่ละครั้งกำลังของแฟลช
ก็จะเพิ่มทีละ 40% หรือเอา 1.4 คูณเอาครับ
ก็จะเพิ่มทีละ 40% หรือเอา 1.4 คูณเอาครับ
ช่องรับแสง - ช่องรับแสงนอกจากจะมีผลกับความชัด ลึกของภาพแล้ว ยังมีผลกับความแรงของแฟลชด้วยครับ ช่องรับแสงยิ่งกว้างแฟลชก็จะยิ่งไปได้ไกลขึ้น ช่องรับแสงยิ่งแคบกำลังของแฟลชก็จะยิ่งลดลง เพราะฉะนั้นเวลาถ่ายด้วยแฟลชหัวกล้อง จึงไม่ควรให้แบบหรือซับเจ็คอยู่ไกลเกินไป
ความไวชัตเตอร์ - ความไวชัตเตอร์ก็มีผลกับแฟลช ครับ เนื่องด้วยการฉายแสงของแฟลชนั้นมีความเร็วและสั้นมาก ๆ เราเรียกค่านั้นว่า Duration แฟลชบางรุ่นอาจมีช่วงการฉายแสงที่ 1/20000s (วินาที) ซึ่งอาจสามารถหยุดความเคลื่อนไหวได้เกือบจะทุกชนิด แต่เมื่อเราเอามาใช้กับกล้อง เราอาจจำเป็นต้องใช้สปีดชัตเตอร์ได้ตามแต่กล้องแต่ละตัวจะซิงค์ได้ โดยส่วนใหญ่ก็จะอยู่ที่ไม่เกิน 1/250s - 1/125s ยกเว้นแต่ว่าจะใช้ร่วมกับแฟลชรุ่นดีๆ ของยี่ห้อกล้องที่รองรับระบบ ไฮสปีดซิงค์ หรือ HSS ซึ่งจะสามารถใช้แฟลชได้ทุกสปีดชัตเตอร์ (แต่ข้อควรวะวังคือสปีดชัตเตอร์ยิ่งสูงแฟลชก็ยิ่งมีกำลังที่น้อยลง)
การทำงานของม่านชัตเตอร์สัมพันธ์กับแฟลช
กล้องถ่ายภาพ D-SLR & SLR ที่เราใช้กันส่วนใหญ่ จะวางม่านชัตเตอร์ไว้ด้านหน้าของ CCD หรือ CMOS หรือฟิล์มก็แล้วแต่ ส่วนใหญ่จะวางม่านชัตเตอร์ไว้เพื่อกันแสงไม่ให้ผ่านเข้าไปในยามที่เราถอด เปลี่ยนเลนส์ โดยวางไว้สองชุด ซึ่งอาจจะเรียกว่าชุดแรกและชุดที่สอง หรือชุดหน้ากับชุดหลัง เพื่อทำความไวชัตเตอร์ให้สูงขึ้น
เมื่อเรากดชัตเตอร์เพื่อถ่ายภาพ ม่านชัตเตอร์ชุดแรกจะเริ่มเคลื่อนตัวในขณะที่ม่านชุดที่สองจะถูกหน่วงเอาไว้ แล้วจึงจะเคลื่อนตัวตามไป ซึ่งจะหน่วงนานแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความไวชัตเตอร์ที่เราตั้งเอาไว้ ในขณะที่ม่านชัตเตอร์กำลังเคลื่อนตัวเซนเซอร์รับภาพหรือฟิล์มก็จะได้รับแสง ที่ผ่านช่องแคบๆ ระหว่างม่านชัตเตอร์ทั้งสองชุด ดังนั้นจึงไม่สามารถได้รับแสงภายในช่วงเวลาเดียวกันทั่วทั้งแผ่น เพราะแฟลชนั้นได้ยิงแสงออกไปในช่วงที่สั้นมากๆ และจะยิงออกไปทันทีที่เรา กดชัตเตอร์ ซึ่งก็หมายความว่าแฟลชจะถูกยิงออกไปพร้อมกับม่านชัตเตอร์ชุดแรก
เพราะฉะนั้นกล้องในสมัยก่อนจึงไม่สามารถใช้แฟลชร่วมกับความไว ชัตเตอร์ที่สูงๆ ได้ ถ้าเราดื้อรั้นใช้ความไวของแฟลชสูงกว่าที่กล้องกำหนดก็จะเกิดเงามืดของม่าน ชัตเตอร์มาบังเอาไว้ ทำให้เกิดภาพดำครึ่งนึง
*** หลังจากเกริ่นลักษณะของแฟลชเบื้องต้นพอที่จะเข้าใจแล้ว ทีนี้เราจะมาทำความรู้จักกับการใช้แฟลชในแต่ละระบบกัน ***
1. แฟลชระบบแมนนวล Manual
แฟลชในระบบแมนนวล (Manual) เป็นแฟลชในระบบดั้งเดิมเริ่มต้น ซึ่งถูกพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ แต่ก็ยังคงยืนยงและมีประโยชน์อยู่ในตัวหลายอย่าง และไม่น่าเชื่อในยุคดิจิตอลผมมองว่าแฟลชระบบแมนนวลกลับใช้งานได้ดีกว่าใน สมัยฟิล์มอย่างไม่น่าเชื่อ (ส่วนนึงมาจากการเห็นผลหลังการถ่ายได้ทันที) ผลกระทบต่อการพัฒนากล้องมีส่วน กับระบบ TTL มากกว่าที่ต้องคอยพัฒนาแฟลชรุ่นใหม่ ให้ใช้งานกับกล้องรุ่นใหม่ๆ อยู่เสมอ ไม่เหมือนสมัยฟิล์มที่แฟลชในรุ่นสูงสามารถใช้ได้กับกล้องเกือบทุกรุ่นไม่ว่า เก่าหรือใหม่ และแฟลชรุ่นนึงก็อยู่ในท้องตลาดเป็นเวลาหลายปี ไม่ต้องเปลี่ยนรุ่นเร็วเหมือนแฟลชสมัยดิจิตอล (แอบบ่นมาซะหลายบรรทัดมาเข้าเรื่องเลยละกัน)
ประโยชน์ข้อแรกเลยสำหรับแฟลชในระบบแมนนวล (จริงๆ) คือมีราคาถูกมาก แฟลชในระบบแมนนวลที่ไม่มีระบบอะไรมากมายราคาไม่ค่อยสูงนัก ซึ่งนักถ่ายภาพทุกคนสามารถหาซื้อมาไว้ใช้ได้ ข้อที่สองถ้าคำนวณระยะทางได้พอดีไม่ต้องมาคอยห่วงเรื่องชดเชยแสงแฟลช ข้อสามเนื่องจากแฟลชระบบแมนนวลเป็นการปล่อยแสงแฟลชตามระยะทางมันจึงประหยัด แบตเตอรี่กว่าอีกสองระบบและชาร์จประจุไฟได้เร็วมาก ส่วนการใช้ถ้าเป็นแฟลชรุ่นธรรมดาๆ ที่ราคาไม่สูงนักจะถูกกำหนดการกระจายแสงแฟลชไว้ที่ 35 มม. เพราะฉะนั้นท่านที่ใช้เลนส์มุมกว้างกว่านี้ควรระมัดระวังเรื่องแสงที่ขอบภาพ ด้วย ส่วนการใช้งานก็สามารถใช้สูตรคำนวณข้างบนที่ได้กล่าวไปแล้วมาใช้ได้
ส่วนข้อเสียก็คือช้าและต้องคอยคำนวณระยะทางอยู่ตลอดไม่สะดวกเหมือน แฟลชในระบบออโต้หรือ TTL และถ้านำไปใช้ในการเบ๊านซ์ (bounce) เพดานหรือใช้ร่วมกับอุปกรณ์เสริมบางประเภทที่มีการเสียแสง เช่น ทิวป์ (tube) หรือ เทเลคอนเวนเตอร์ (teleconverter) ก็ต้องมาคอยคำนวณช่องรับแสงใหม่อยู่เสมอ
มีข้อเสนอแนะเล็กๆ น้อยๆ เวลาใช้แฟลชแบบแมนนวลให้ได้รวดเร็วก็คือ สมมุติว่าเราจะถ่ายวัตถุหรือแบบในระยะใดก็ตาม เราก็พยายามปรับช่องรับแสงให้อยู่ในระดับกลางๆ เช่น F8 สมมุติว่าอยู่ที่ระยะ 5 เมตร ทีนี้พอแบบเคลื่อนที่ถ้าใกล้เข้ามาเราก็ปรับ F-Stop ให้แคบขึ้นไปอีกเพื่อลดกำลังไฟแฟลช ถ้าแบบถอยออกไปไกลเราก็ปรับ F-Stop ให้กว้างขึ้นเพื่อให้แฟลชมีกำลังไปถึงโดยที่เราไม่ต้องมาคอยเดินตามไปๆ มาๆ
2.แฟลชระบบออโต้
เป็น แฟลชรุ่นที่พัฒนาต่อมาจากแฟลชระบบแมนนวล โดยแฟลชระบบออโต้มีเซลไวแสงหรือเซนเซอร์ติดไว้เพื่ออ่านค่าแสงที่สะท้อนกลับ มาจากวัตถุที่แสงแฟลชได้ไปกระทบถูก และเซนเซอร์ก็จะทำการตัดแสงแฟลชให้เราโดยอัตโนมัติ ทำให้นักถ่ายภาพใช้แฟลชได้สะดวกขึ้น แต่ก็ยังต้องคอยระวังในเรื่องของอุปกรณ์เสริมที่มีการเสียแสงคล้ายๆ แฟลชในระบบแมนนวล แต่สมัยนี้หาแฟลชระบบออโต้ไม่ค่อยมีแล้ว
3.แฟลชระบบ TTL ( Through the lens )
แฟลช ระบบ TTL เป็นแฟลชที่ถูกพัฒนาต่อมาและเป็นต้นแบบของแฟลชในยุคดิจิตอลนี้เกือบทุกตัว เพียงแต่จะใส่ระบบที่เพิ่มมากขึ้นเช่นการคำนวณตามระยะทางจากข้อมูลของเลนส์ หรือตามจุดโฟกัส แต่พื้นฐานก็มาจากแฟลชระบบ TTL
ในสมัยเริ่มแรกนั่นคือการนำเซนเซอร์มาวางไว้ที่ตัวกล้องเลย แทนที่จะวางไว้ในตัวแฟลชเหมือนระบบออโต้ ข้อดีก็คือเราสามารถจะใช้แฟลชได้ทุกช่องรับแสงโดยมีข้อแม้ว่ากำลังไฟของแฟลช ต้องฉายไปถึง ไม่ต้องคอยมานั่งคำนวณ จะใช้อุปกรณ์เสริมอะไรก็ไม่ต้องคอยชดเชยช่องรับแสงให้
ส่วนข้อเสียก็คือต้องคอยคำนวณค่าสะท้อนของสีบางประเภทให้กับกล้องด้วย เช่นสีขาวและสีดำ อีกข้อก็คงเป็นเรื่องการใช้พลังงานที่ค่อนข้างเยอะ เพราะเป็นการยิงแฟลชไปกลับทำให้บางครั้งต้องคอยเวลาในการปะจุไฟที่ค่อนข้าง นานถ้าวัตถุที่จะถ่ายอยู่ในระยะไกล
*** หลังจากได้รู้จักกับระบบต่างๆของแฟลชแล้วก็ไปซื้อหากันตามกำลังทรัพย์นะครับ บทต่อไปจะแนะวิธีและเทคนิคการใช้แฟลช ***
งานแรกคงไม่พ้นงานพิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานแต่ง งานบวช งานศพ ยันพิธีรับปริญญา ยังไงก็ต้องพึ่งแฟลชครับ
เราสามารถใช้ทุกโหมด A S P M หรือโปรแกรมสำเร็จรูปถ่ายภาพกับแฟลชได้ทุกโหมด แต่ในระบบออโต้ผู้ผลิตมักจะตั้งความไวชัตเตอร์มาในค่ากลางๆ เช่น 1/60s - 1/90s - และ 1/200s มีเพียง Canon ที่เวลาใช้โหมด AV แล้วกล้องจะทำการใช้ระบบ สโลว์ซิงค์แฟลชให้อัตโนมัติ ซึ่งจะทำการใช้ระบบแฟลชสัมพันธ์กับแสงธรรมชาติ ต้องคอยระวังกันสักนิดเพราะถ้าในห้องไม่สว่างสปีดอาจจะต่ำทำให้ภาพเบลอได้ และมือใหม่บางคนก็มองไม่ออกนึกว่าแฟลชไม่ทำงาน มืออาชีพส่วนใหญ่จึงนิยมใช้โหมดแมนนวลเวลาใช้แฟลชมากกว่า เพราะสามารถควบคุมฉากหลังได้ดังใจมากกว่า
ภาพตัวอย่าง การใช้โหมดแมนนวลร่วมกับแฟลชในระบบ TTL โดยการวัดแสงบริเวณพระประธานที่ด้านหลังเพราะต้องการให้เห็นรายละเอียดด้วย แต่ค่าแสงที่ไม่มากพอเลยต้องปรับค่า ISO ไปที่ 800 และใช้ช่องรับแสงที่ F 6.3 เพราะว่าสปีดที่ได้นั้นต่ำเกินไปเลยต้องยอมให้ความชัดลึกที่ไม่สามารถคลุมไป ถึงองค์พระประธานในด้านหลังได้ และบางครั้งควรจะชดเชยแสงแฟลชดูด้วยก็จะดีนะครับเพื่อไม่ให้แบบนั้นจ้าเกิน ไป
อีกวิธีที่จะใช้แฟลชถ่ายภาพกับงานพิธี นั่นคือการวัดแสงในห้องจัดเลี้ยง
บางครั้งการถ่ายภาพในห้องจัดเลี้ยงบางทีถ้าเราถ่ายโดยใช้โหมดออโต้ ต่างๆ อาจทำให้ด้านหลังมืดเกินไปจนดูไม่รู้ว่ามีอะไรบ้าง บางที่ก็จัดห้องไว้อย่างสวยหรู แต่พอใช้แฟลชแล้วมันไม่เห็นรายละเอียด เพราะว่าด้วยสภาพของค่าแสงในห้องที่มีอยู่ค่อนข้างน้อย ยกตัวอย่างนะครับ สมมุติว่าในห้องนั้นถ้าเราวัดแสงด้วยกล้อง ค่าแสงอาจจะอยู่ที่ 1/4s กับ F 5.6 ISO 100 แต่พอเราเปิดใช้แฟลช ค่าสปีดจะขึ้นไปที่ 1/125s ซึ่งมีความแตกต่างกันอยู่ถึง 5 สตอป ถ้าเราถ่ายด้วยค่า 1/125s โดยไม่เปิดแฟลชยังไงภาพก็อันเดอร์ในตัวอยู่แล้ว แต่ที่เราได้ภาพเพราะแสงของแฟลชเข้าไปควบคุมเปิดรายละเอียดให้โดยส่วนที่ไม่ ได้รับแสงแฟลชก็ย่อมมืดลงเป็นปกติ
ภาพตัวอย่างการใช้แฟลชในระบบปกติ
จะเห็นว่าด้านหลังที่แสงแฟลชส่องไปไม่ถึงจะมืดเพราะด้วยค่าการเปิดรับ แสงที่แตกต่างกันอยู่มาก แต่ที่แบบได้รับอิทธิพลของแสงแฟลชจึงทำให้เราเห็นรายละเอียดได้ และวิธีนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานมาโครหลังดำได้ด้วย
ภาพตัวอย่างการใช้แฟลชในห้องจัดเลี้ยงแบบให้มีรายละเอียด
บางสถานที่ถ้าภาพในห้องมีแสงสว่างมากพอเราสามารถ วัดแสงในห้องล่วงหน้าไว้ก่อนแล้วใช้แฟลชเป็นแสงเสริมเพื่อให้มีการเก็บราย ละเอียดของฉากหลังเข้ามาด้วย ข้อควรระวังก็คงมีแต่เรื่องสปีดชัตเตอร์เพราะถ้ามันต่ำมากเกินไปบางทีอาจทำ ให้ภาพเบลอเพราะมือไม่นิ่งหรือแบบขยับตัว วิธีนี้สามารถใช้ได้ทั้งแฟลชทุกระบบไม่ว่าจะเป็นแมนนวล ออโต้ หรือ TTL ข้อแนะนำก็คือ ในยุคดิจิตอลถ้าสปีดต่ำเราสามารถเพิ่มค่า ISO ได้
คิดว่าที่กล่าวมาในเบื้องต้นพอจะเป็นประโยชน์ให้ มือใหม่หลายๆ ท่านนำเอาไปฝึกและนำไปศึกษาเพื่อต่อยอดในการใช้แฟลชให้คล่องขึ้น
การเบ๊านซ์แฟลช Bounce Flash
การเบ๊านซ์แฟลชเราสามารถใช้ได้กับแฟลชภายนอกเท่านั้น โดยส่วนมากนิยมใช้เบ๊านซ์กับเพดานลงมา โดยการยิงแฟลชขึ้นไปด้านบนเพดานแล้วให้สะท้อนไปที่แบบหรือวัตถุที่เราต้อง การถ่าย แฟลชในระบบ TTL จะได้เปรียบแฟลชในระบบแมนนวลอยู่บ้างเนื่องจากไม่ต้องมาคอยคำนวณระยะทาง แต่ในยุคดิจิตอลก็ไม่ได้เดือดร้อนเท่าไหร่เพราะเราสามารถเห็นผลทันทีหลังการ ถ่ายอยู่แล้ว แต่ให้ระวังเรื่องสีของเพดานสักนิดนะครับเพราะว่าถ้าเพดานไม่เป็นสีขาวอาจทำ ให้วัตถุที่เราจะถ่ายนั้นมีสีผิดเพี๊ยนไปได้ และก็ถ้าเพดานสูงเกินไปก็ไม่จำเป็นต้องเบ๊านซ์นะครับมันเสียกำลังไฟแฟลชเกิน ไป หรือไม่บางท่านก็จะนำแผ่นสะท้อนแสงมาวางด้านข้างแบบแล้วหันหัวแฟลชไปให้ สะท้อนกลับมาสู่แบบเพื่อสร้างมิติให้กับภาพ
ประโยชน์ของการเบ๊านซ์แฟลช ก็คือ ทำให้แบบมีมิติของแสง และแสงแฟลชที่นุ่มลง ไม่กระด้างและแบนเหมือนการยิงแฟลชไปตรงๆ ครับ ยังมีอุปกรณ์เสริมสำหรับสวมหน้าแฟลชเพื่อทำให้แสงแฟลชนุ่มขึ้น ซึ่งสามารถหาซื้อตามร้านขายอุปกรณ์ถ่ายภาพทั่วๆ ไปได้
การใช้แสงแฟลชผสมแสงธรรมชาติ ( Fill in Flash )
การใช้แสงแฟลชผสมแสงธรรมชาตินี้ เป็นเทคนิคการถ่ายภาพแขนงนึง ที่จำเป็นที่ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจเพราะว่ามันมีประโยชน์มากมาย เราจะได้รู้ว่าแฟลชไม่ได้มีไว้ใช้ในเวลากลางคืนเท่านั้น แต่แฟลชสามารถตอบสนองการใช้งานของเราได้ในทุกที่และทุกเวลา เคยสังเกตมั๊ยครับว่าทำไมช่างภาพงานรับปริญญาส่วนใหญ่ถึงต้องติดแฟลชเอาไว้ ที่กล้องเพราะว่าเค้าต้องเอาแสงแฟลชมาลบเงาดำใต้ตา จมูก ปากเพื่อให้ภาพมีความเคลียร์มากที่สุด เราเรียกว่าการใช้แฟลชแบบนี้ว่าการลบเงานั่นเอง ส่วนการใช้แสงแฟลชผสมแสงธรรมชาติ นี้จะเป็นอีกหนึ่งบทของการใช้แฟลช ที่จะช่วยให้เราถ่ายภาพในสถานการณ์และสภาพแสงต่างๆให้ได้ดั่งใจ
ภาพตัวอย่างการใช้แสงแฟลชผสมแสงธรรมชาติในยามเช้า
สองภาพนี้ถ้าเราไม่ใช้แฟลชจะทำให้นางแบบมืด วิธีก็ไม่ได้ยุ่งยากถ้าใช้โหมดแมนนวลเราก็วัดแสงไปที่ท้องฟ้าด้านหลังเลยถ้า ใช้แฟลชในระบบ TTL เราก็สามารถถ่ายภาพได้เลยส่วนการชดเชยแสงแฟลชเราสามารถดูผลหลังการถ่ายจากจอ LCD ส่วนถ้าใช้แฟลชในระบบแมนนวลเราก็ต้องใช้สูตรคำนวณตามข้อความด้านบน
การใช้แฟลชเมื่อถ่ายภาพย้อนแสง
ภาพตัวอย่างนี้เป็นการถ่ายย้อนแสงตอนที่แสง ของดวงอาทิตย์ยังแรงอยู่มาก โดยใช้วิธีฟิลแฟลชเปิดรายละเอียดด้านหน้า ภาพนี้นอกจากจะได้รายละเอียดของนางแบบแล้วยังได้ ริมไลท์รอบๆ ตัวของนางแบบมาด้วย ส่วนวิธีใช้ก็เหมือนด้านบน แต่ข้อควรระวังคืออย่าให้แสงของดวงอาทิตย์ส่องโดนหน้าเลนส์เพราะจะทำให้เกิด แฟลร์และภาพมีสีสันที่ไม่อิ่มตัว ส่วนภาพตัวอย่างผู้ถ่ายใช้ตัวนางแบบเป็นที่บังแสงของดวงอาทิตย์ไว้
ภาพตัวอย่างนี้เป็นการใช้แฟลชผสมแสงธรรมชาติในยามเย็น ข้อควรระวังคือสปีดค่อนข้างต่ำต้องวางกล้องไว้บนขาตั้งกล้อง และให้แบบอยู่นิ่งๆ จนกว่าม่านชัตเตอร์ทั้งสองชุดจะปิดสนิท วิธีถ่ายก็เหมือนเดิมเราจะเอาค่าแสงตรงไหนเราก็วัดไปตรงนั้นแล้วใช้ให้แฟลช เปิดรายละเอียดเอา อย่างภาพนี้ก้ใช้วัดแสงด้วยโหมดแมนนวลไปที่บริเวณท้องฟ้า แล้วก็มาปรับตั้งค่าของแฟลชให้ครอบคลุมวัตถุในฉากหน้า เราก็จะได้ภาพที่สวยงามได้
ระบบแฟลชสัมพันธ์ม่านชัตเตอร์ชุดที่สอง
มันมีความสำคัญยังไง อย่างที่ได้กล่าวไว้ในตอนแรกแล้วว่า ม่านชัตเตอร์จะทำงานเป็นสองชุดคือชุดแรกและชุดหลัง แต่แฟลชนั้นทำงานด้วยการฉายแสงในช่วงสั้นๆ ซึ่งทำให้มีผลกระทบกับภาพในบางลักษณะจึงจำเป็นต้องมีระบบแฟลชสัมพันธ์ม่าน ชัตเตอร์ชุดที่สอง โดยส่วนใหญ่จะเห็นผลในการใช้กับภาพเคลื่อนไหวและสปีดชัตเตอร์ที่ค่อนข้างช้า นั่นหมายถึงแสงแฟลชจะถูกยิงออกไปหลังจากที่ม่านชัตเตอร์ชุดแรกได้เคลื่อนตัว ผ่านเซนเซอร์หรือฟิล์มไปแล้ว โดยจะฉายแสงออกไปพร้อมๆ กับม่านชัตเตอร์ชุดที่สองแทน ซึ่งเราต้องเข้าไปปรับตั้งในเมนูของระบบแฟลชเอง ส่วนใหญ่จะใช้คำว่า Rear ส่วนผลที่ได้ก็คือ เงาที่ตกทาบไปทางด้านหลังของการเคลื่อนที่ทำให้ภาพดูมีความเคลื่อนไหวสมจริง เพราะไม่เช่นนั้นเงาของภาพจะไปตกทาบอยู่ทางด้านหน้าแทนทำให้ดูเหมือนภาพ กำลังถอยหลัง
ภาพตัวอย่างของการไม่ได้ใช้ระบบ ม่านชัตเตอร์ชุดที่สองร่วมกับแฟลชถ่ายภาพเคลื่อนไหว จะเห็นว่าเงาของนกตกไปทางด้านหน้าดูเหมือนนกกำลังบินถอยหลัง
ส่วนภาพนี้เป็นภาพที่เปิดระบบม่านชัตเตอร์ชุดที่สองเงานกจะทาบไปด้านหลังแทน *** ข้อควรระวังก็ไม่มีอะไรมาก แต่ถ้าไปถ่ายวัตถุที่อยู่นิ่งๆ กับที่ก็จะไม่เห็นผล ***
บทสุดท้ายยังมีงานการถ่ายภาพอีกหนึ่งบท ที่แฟลชมีความสำคัญค่อนข้างมาก นั่นคือการถ่ายภาพ มาโคร
เพราะว่างานมาโครเป็นการถ่ายที่ใช้อัตราขยายค่อนข้างสูง ซึ่งการสั่นไหวเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้ภาพขาดความคมชัดไปทันที ด้วยการฉายแสงหรือ Duration ที่ไวมากๆ ทำให้แฟลชสามารถช่วยงานมาโครให้ได้ภาพมีสีสันสดใสและสวยงามได้ และอีกอย่างคือแมลงหรือดอกไม้ขนาดเล็กมักจะซ่อนตัวอยู่ในซอกในหลืบ ในที่ที่มีแสงน้อย เพราะฉะนั้นแฟลชจะเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดในงานมาโคร และถ้าเราใช้ร่วมกับสายแยกแฟลชแล้วเรายังสามารถสร้างทิศทางแสงให้เกิดมิติ และภาพมาโครหลังดำได้แบบง่ายๆ
ภาพตัวอย่างการถ่ายภาพมาโครด้วยแฟลชในแบบต่างๆ
การใช้แฟลชถ่ายภาพมาโครย้อนแสงเพื่อเปิดรายละเอียดด้านหน้า
การใช้แฟลชร่วมกับสายแยกแฟลชเพื่อสร้างมิติกับงานมาโคร
การใช้แฟลชถ่ายวัตถุที่มีความโปร่งแสงเพื่อสร้างผลพิเศษให้กับภาพ
ภาพตัวอย่างการใช้แฟลชเปิดรายละเอียดด้านหน้าหรือการฟิลแฟลชกับงานมาโคร
ขอจบบทความเรื่องการใช้แฟลชลงเพียงเท่านี้ หวังว่าบทความนี้คงมีประโยชน์กับมือใหม่ไม่มากก็น้อย
หนังสืออ้างอิง เทคนิคการใช้แฟลช Photo & Life
และขอขอบคุณผู้ที่เขียนบทความให้ความรู้ทุกท่านที่ ผู้เขียนได้เล่าเรียนศึกษาและจดจำมาตลอดเวลาของการถ่ายภาพ
และขอขอบคุณผู้ที่เขียนบทความให้ความรู้ทุกท่านที่ ผู้เขียนได้เล่าเรียนศึกษาและจดจำมาตลอดเวลาของการถ่ายภาพ
เรื่อง/ภาพ พรสถิตย์ ขัมภรัตน์ (Tuttoo)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น