มุมกล้องกับช่องว่าง
การจัดองค์ประกอบภาพ นอกเหนือจากหลักการคร่าวๆ อย่าง กฎสามส่วนแล้ว หลักอีกหลายๆ อย่างที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดองค์ประกอบของภาพถ่าย เพื่อให้เกิดความสวยงาม น่าสนใจ ดูแล้วไม่เบื่อ หลักการต่อไปจะกล่าวถึง คือ เรื่องของมุมกล้องกับช่องว่าง
ช่องว่าง
การ จัดองค์ประกอบภาพ หากจัดให้จุดเด่นอยู่ตรงกึ่งกลางภาพทุกรูปภาพที่ออกมาก็จะดูน่าเบื่อ ไม่มีมุมมองที่หลากหลาย และโอกาสที่จะได้ภาพที่แปลกใหม่ก็แทบจะไม่มีเลย การกำหนดช่องว่างภายในเฟรม จึงมีส่วนช่วยให้ภาพดูเหมะสม มีความหมาย และก่อให้เกิดความรู้สึกมากยิ่งขึ้น เช่น หากเรากำลังถ่ายรูปวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้า หากเราจัดให้มีการเว้นช่องว่างในทิศทางที่วัตถุหันหรือเคลื่อนที่ไปนั้น ภาพที่ออกมาก็จะถูกคาดหมายว่าวัตถุกำลังเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่เว้นว่างไว้ เช่น ภาพของการเคลื่อนที่ของรถยนต์ การแข่งม้า การขี่จักรยาน
ตัวอย่าง การเว้นช่องว่างเพื่อให้เกิดความรู้สึกเคลื่อนไหวไปข้างหน้า
มุมกล้อง
นอกจากช่องว่างจะมีผลต่อความรู้สึกของภาพถ่ายแล้ว การถ่ายภาพในมุมที่ต่างกัน ยังมีผลต่อความคิดความรู้สึกที่จะสื่อความหมายไปยังผู้ดูได้ เราอาจแบ่งมุมกล้องได้เป็น 3 ระดับ คือ
1.ภาพระดับสายตา คือ การถ่ายภาพในตำแหน่งที่อยู่ในระดับสายตาปรกติที่เรามองเห็น ขนานกับพื้นดิน ภาพที่จะได้จะให้ความรู้สึกเป็นปรกติธรรมดา
ภาพตัวอย่าง การถ่ายภาพในมุมมองปรกติ
2.ภาพมุมต่ำการถ่ายภาพในมุมต่ำ คือ การถ่ายในต่ำแหน่งที่ต่ำกว่าวัตถุ จะให้ความรู้สึกถึงความสูงใหญ่ ยิ่งใหญ่กว่าความเป็นจริง แสดงถึงความสง่า
ภาพตัวอย่าง การถ่ายภาพในมุมต่ำ
การถ่ายภาพมุมสูง คือ การตั้งกล้องถ่ายในต่ำแหน่งที่สูงกว่าวัตถุ ภาพที่ได้จะให้ความรู้สึกถึงความเล็กความต้อยต่ำ ไม่มีความสำคัญ
ภาพตัวอย่าง การถ่ายรูปในมุมสูง
By klongdigital.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น