I'M Zwei

I'M Zwei
Welcome To blogger of Zwei

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

ซองกันน้ำ Dicapac ใช้งานได้ดีมากน้อยแค่ไหน

ซองกันน้ำ Dicapac ใช้งานได้ดีมากน้อยแค่ไหน

 เมื่อช่วงก่อนตรุษจีนที่ผ่านมาผมและเพื่อนๆ (เป็นเพื่อนเก่าเพื่อนแก่..คบกันมาตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัยโน้น) ไปเที่ยวทะเลและดำน้ำตื้นกัน ซึ่งกิจกรรมนี้พวกผมทำกันทุกปีจนปีที่ก็เป็นปีที่ 12 แล้วล่ะครับ โดนทุกปีก็จะมีการถ่ายรูปใต้น้ำด้วยแต่อาศัยกล้อง Compact กับ Housing มาตลอด ปีนี้อยากได้ภาพสวยๆ บวกกับที่ร้าน Digital2home สั่งซองกันน้ำของ Dicapac รุ่น WP-S10 ซึ่งเป็นซองสำหรับกล้อง SLR หรือ DSLR ก็เลยได้โอกาสถอยของใหม่ไปลองกัน ที่จริงด้วยความที่มีโอกาสไปดำน้ำอยู่บ่อยเห็นชาวต่างชาติใช้ซองแบบนี้กันมา นานสำหรับการน้ำตื้นหรือที่เรียกกันว่า Snorkeling แต่ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมของคนไทยนัก ผมว่าสาเหตุก็ไม่พ้นมาจาก “จะไว้ใจได้หรอกล้องชุดละครึ่งแสนนะเนี่ย ถ้าเกิดน้ำเข้าละก็น้ำตาตกแน่ๆ” อันนี้ผมลอกคำพูดของเพื่อนที่ไปด้วยกันและผมบอกว่าจะเอากล้องตัวใหญ่ลงโดย ใช้ซอง Dicapac มาเลยนะเนี่ย ส่วนจะให้ซื้อ Housing สำหรับกล้อง DSLR นั้นก็ไม่กล้าด้วยสนนราคาที่แพงว่าตัวกล้องพร้อมเลนส์ซะอีก….. “_ _

เอาล่ะอัมภบทมานานแล้ว มาดูกันก่อนว่าอุกรณ์ที่ผมใช้คืออะไรกันบ้าง
ตัวผมเองใช้กล้อง Nikon D5000 และเลนส์ที่เอาไปใช้ในคร้ังนี้คือ Tamron 17-50 VC และซองกันน้ำ Dicipac รุ่น WP-S10 สาเหตุที่เลือกพกเลนส์ Tamron ไปเนื่องจากต้องการเลนส์ที่สามารถเปิดค่ารูรับแสงหรือค่า F ให้ได้ถึง 2.8 ซึ่งจะเหมาะกับการถ่ายใต้น้ำที่อาจเจอสถานการณ์แสงน้อยได้ ส่วนขั้นตอนในการเตรียมตัวก่อนนำเจ้าซอง Dicapac ลงน้ำคือการทดสอบการรั่วซึมของซอง ซึ่งวิธีการที่ง่ายๆ และใช้กันไม่ว่าจะเป็น Housing แบบใดก็ตาม คือการเอากระดาษทิชชูใส่เข้าไปในซอง Dicapac แล้วปิดให้สนิทตามขั้นตอนการใช้งานจริง จากนั้นก็นำไปกดลงในอ่างน้ำซึ่งผมจับลงในอ่างแช่ตัวในโรงแรม(เสียดายลืมถ่าย ภาพให้ดู) จากนั้นก็เอาทิชชูออกมาดูว่ามีอาการเปียก ชื้น ในส่วนไหนบ้างหรือเปล่าถ้าไม่มีแสดงว่าซองอยู่ในสภาพพร้อมลุย 100% ในการจับซองกดลงน้ำผมแนะนำว่าให้สังเกตุหน่อยว่าทุกส่วนจมน้ำจริงและแช่ ประมาณ 3-5 นาที เพื่อให้เกิดว่าแน่ใจว่าเวลาเราเอาลงแช่น้ำนานๆ แล้วจะไม่มีปัญหาตามมา
ข้อสังเกตุเรื่องการประกันสินค้าของซองกันน้ำคือ
1. การประกันจะประกันที่ซองมีการรั่วซึมจากการผลิต ไม่ใช่จากการใช้งาน ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำทันทีหลังจากที่ซื้อสินค้าจำพวกนี้คือการทดลองโดยใช้ กระดาษทิชชูก่อนการใช้งานกับกล้องจริงนะครับ ถ้าพบว่ามีการรั่วซึมให้รีบแจ้งทางร้านค้าเพื่อของเปลี่ยนตัวใหม่ก่อนทันที
2. ระวังเรื่องการถูกเกี่ยวหรือของมีคมแทงทะลุซึ่งจะเป็นสาเหตุให้น้ำรั่วซึ่ม ได้ โดยเฉพาะการเดินทางไปกันเรือแล้วเราวางไว้กับพื้นเรือจะมีโอกาสที่ตะปูหรือ เศษไม้แทงทะลุถุงกันน้ำได้ ควรเอาถุงใส่ในถุงผ้าหรือเป้กันน้ำอีกชั้นในระหว่างที่อยู่บนเรือหรือก่อนลง ดำน้ำนะครับ
3. การเอากล้องลงน้ำแนะนำให้ตัวเราเองลงไปในน้ำก่อนโดยฝากกล้องไว้กับเพื่อน หรือคนเรือให้ยืนให้เราที่หลังการกระโดดลงไปพร้อมกล้องและซองอาจมีโอกาสที่ จะทำให้ซองนั้นมีรอยเปิดได้ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดน้ำซึมเข้าไปเช่นกันนะครับ
4. อ่านข้อจำกัดของอุปกรณ์ที่ใช้ในแต่ละรุ่นให้ดี บ้างรุ่นลงน้ำให้ลึกแต่บ้างรุ่นได้ตื้นๆ หรือไม่สามารถลงน้ำได้กันได้แต่น้ำสาดก็มี อันนี้ต้องอ่านให้ดีก่อนนะครับ
การเซ็ต Mode สำหรับการถ่ายภาพใต้น้ำด้วยกล้อง DSLR
เท่าที่ผมไป Search หาใน Internet พบว่าการแนะนำส่วนใหญ่จะเป็นการแนะนำสำหรับการถ่ายแบบดำน้ำลึกซะมากกว่า อย่างเช่นให้ Set ISO 100 ค่า Speed shutter ที่ 150-200 และรูรับแสงที่ 4.5-5.6 ซึ่งผมเองก็ลองทำตามแต่พบปัญหาค่อนข้างเยอะที่เดียวเนื่องจากการดำน้ำตื้น นั้นสภาวะแสงเปลี่ยนแปลงบ่อยมากทำให้การเช็ตค่าแบบ Manual นั้นจะเพี้ยนบ่อยและในกล้อง DSLR ก็ไม่มี Mode สำเร็จรูปสำหรับการถ่ายใต้น้ำซะด้วยสิ ผมเลยใช้ Mode auto แบบ Nop Flash แทนซึ่งภาพที่ได้ออกมาถือว่าา Ok เลยที่เดียวครับ ส่วนการต้ังเรื่อง Shutter นั้นผมตั้งแบบถ่ายต่อเนื่อง และถ่ายภาพ Viewfinder ซึ่งการใช้งานนั้นจะยากสักหน่อยแต่ภาพที่ได้ชัดเจนและเร็วกว่าการถ่ายผ่านจอ LCD ครับ เนื่องจากการถ่ายภาพผ่านจอ LCD นั้นกว่าจะ Focus ได้ช้ามากโดยเฉพาะ Nikon ภาพที่ได้เบลอเยอะมาก
เอาล่ะเรามาดูขั้นตอนและรุปกันเลยดีกว่าครับ


อันนี้เป็นขั้นตอนเอากล้องใส่ลงในซองกันน้ำ Dicapac ตอนนี้ที่ใส่นี้อยู่ Lobby หน้าโรงแรมรอรถมารับไปอยู่ครับ

ขั้นตอนนี้เอาตัวผมเองลงมาในน้ำก่อนโดยให้คนเรือช่วยส่งกล้องให้ที่หลัง ครับ และได้กล้องเพื่อนเป็น Canon A series พร้อม Housing ช่วยบันทึกภาพคู่กันให้ (แต่ระหว่างปฎิบัติงานน้ันกล้อง Canon A series ดันเกิดอาการดับไปทำให้ไม่สามารถบันทึกภาพคุ่ขนานกันได้ต่อจึงเหลือแต่ของผม แต่เพียงตัวเดียวใน trip นี้ก็ถือว่าโชคดีไปครับที่ยังมีกล้องถ่ายภาพในน้ำกันอยู่อีกตัว)

ทั้ง 2 ภาพนี้เป็นตัวอย่างของการ Set ISO ขึ้นไปมากเกินทำให้ภาพที่ได้สว่างเยอะเกินไป และที่ภาพด้านซ้ายมือติดขอบเลนส์ของซองกันน้ำเนื่องจาก ผมเปิดหน้าเลนส์ไว้ที่ 17mm ทำให้มีช่องว่างระหว่างซองกับเลนส์ ซึ่งวิธีแก้ไขเบื้องต้นในขณะน้ันของผมคือการจัดเลนส์หน้าซองให้กระชับกับ เลนส์กล้องก่อนถ่ายก็เลยได้ภาพที่ 2 นี้มา อันนี้ไม่ติดหน้าเลนส์แล้วล่ะครับ
แต่ในระหว่างการใช้งานก็มีอยุ่บ้างที่เผลอ ปล่อยมือทำให้ภาพที่ได้ยังเห็นเรื่องการติดขอบของเลนส์หน้าซองอยู่ครับ อ้อภาพคราวนี้ผมลองใช้ Scene Mode ในกล้อง Nikon แบบ Dust/Dawn ภาพที่ได้จะเป็นภาพในโทนสีฟ้าเป็นหลัก
ภาพในชุดนี้ทั้ง 4 ภาพเป็นการถ่ายโดยใช้ Mode auto แบบ No flash มีทั้งปลาเสือ ปะการังสมอง และอื่นๆ (ผมจำไม่ได้ว่าเรียกว่าอะไรนะสิ) ภาพที่ถ่ายออกมาถือว่าชัดเจนที่เดียว
เนื่องจากตัวซองกันน้ำ Dicapac รุ่น WP-S10 ระบุว่ากันน้ำได้ในระดับผิวน้ำไม่เหมาะกันการดำน้ำลึกแต่ก็รองรับความลึกได้ มากถึง 5 เมตร สิ่งที่ผมท้าทายและลองดูคือว่ามันทำได้จริงหรือเปล่า ตอนี้ที่คิดจะลองก็ยอมรับว่าเสียวๆ อยู่เหมือนกันครับแต่ว่า….ไม่ลองแล้วจะรู้ได้ไงก็เลยลองถ่ายโดยกดกล้องลงใต้ น้ำที่ระดับ 2 เมตรโดยประมาณก่อน อันนี้คือภาพที่บัทึกได้ครับถือว่าชัด Ok อยู่  และคราวนี้ผมแก้อาการติดขอบของซองโดยการปรับมุมเลนส์จาก 17mm เป็น 35mm แทนครับทำให้ตัวเลนส์ยืนไปสุดกับช่วงซองเลนส์พอดีที่นี้ก็เลยไม่ติดปัญหา ถ่ายติดขอบอีกแล้วล่ะครับ

สรุปแล้วภาพรวมของการใช้กล้อง DSLR กับซองกันน้ำ Dicapac ในมุมมองของผมถือว่า OK เลยครับ
สิ่งสำคัญคือการทดสอบก่อนใช้งานจริงและทำตาม ขั้นตอนให้ครบถ้วนโดยเฉพาะการปิดผนึก Zip Lock ต้องเช็คหลายๆ รอบหน่่อยเพื่อให้มั่นใจว่าเราปิด Zip Lock สนิททั้งหมดจริง แค่นี้ก็ทำให้เราไม่พลาดกับการถ่ายภาพใต้น้ำแล้วครับ แต่ถ้าใครยังไม่กล้าพอผมก็บอกได้ว่าเราสามารถใช้ Dicapac ตัวนี้ใส่กล้องสำหรับเทศกาลสงการณ์ที่จะถึงนี้ก็ต้องเรียกว่า OK เลยที่เดียวครับได้ภาพคมสวยในราคาของอุปกรณ์ที่ไม่แพงเกินไปนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น