I'M Zwei

I'M Zwei
Welcome To blogger of Zwei

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

เก็บกล้องอย่างไร ไม่ให้จากไปก่อนวัยอันควร

ช่วงนี้ไม่รู้ อากาศเป็นอะไร อากาศวิปริต กันเหลือเกิน เมษาหน้าร้อนอยู่ดีๆ แท้ๆ ฝนตก พายุเข้า ลมแรง ลูกเห็บตก แล้วก็กลับมาร้อนจนผิวไหม้ คนยังรับอากาศไม่ค่อยได้ แล้วกล้องจะไปทนได้อย่างไร


อากาศแปรปรวนที่ ไร ก็ต้องปวดหัวกับการตอบคำถาม ของ คนรอบข้าง แล้วก็ต้องพูดซ้ำไปซ้ำมา อย่างกะเอาเทปมารีรันอยู่นั่นแหละ ก็เลยได้ฤกษ์งามยามดี เขียนไว้เป็นหลักฐาน เผื่อใครถามอีกจะได้ส่งลิงค์ให้ดูซะเลย เอาเป็นว่าเพื่อประโยชน์สุขของชาวโลก (ยิ่งใหญ่ไปรึเปล่า) ก็อุปกรณ์ดิจิตอลพวกนี้ มันถูกๆ เสียที่ไหน ยอมเสียตังค์ซื้อมาเพื่อความสุข และบางคนเพื่อทำมาหากินกันแล้ว ก็ต้องดูแลเค้าให้อยู่กับเรานานๆ ไม่ใช่จากไปก่อนวัยอันควร



ต้องขอออกตัวก่อน ว่า ไม่ใช่โปรที่ไหน แค่เคยทำเลนส์ขึ้นราทั้งกระเป๋า ก็ไม่มากมาย 4 ตัวเอง (พูดไปน้ำตาไหลไป)  ทั้งฝ้าและรา แต่ที่เสียดายสุดๆ ก็คือกระเป๋าดมขี้( domke) สุดแสนไฮโซ มรดกคุณลุง ที่ราขึ้นจนต้องตัดใจลงถังไปอย่างไม่ใยดี เปรียบดังเช่น ไก่ได้พลอย หัวล้านได้หวี ลิงได้แก้ว มีของดีอยู่กับตัวไม่รู้จักรักษา จากนั้นมาก็เลยศึกษาๆ เรื่องการเก็บอุปกรณ์ดิจิตอลจะได้ไม่ผิดพลาดซ้ำซ้อน  เพราะไม่ใช่คุณหนูไฮโซ ที่จะมีเงินถุงเงินถังที่ของพังก็ซื้อใหม่

ก่อนที่จะไร้สาระ ไปมากกว่านี้ เอาเป็นว่าเข้าเรื่องกันซะที ดีกว่า ก่อนอื่นต้องขอระบายความหงุดหงิดกับความเชื่อผิดๆ ที่ใครไม่รู้บอกต่อกันมา



อย่างแรก เก็บกล้องยิ่งแห้งเท่าไรยิ่งดี ใส่เข้าไปไอ้เจ้าซิลิก้าเจล เอาให้แห้งสุดๆๆๆ

อันนี้เป็น ประสบการณ์ตรง จากคนรอบข้าง ท่านผู้อ่านที่ไปซื้อกล้องทัพเปอร์แวย์ กับซิลิก้าเจลเป็นถุงๆมาอัดลงในกล่อง เพราะมีความเชื่อว่า ซิลิก้าเจลซึ่งมีประสิทธิภาพดูดความชื้น ยิ่งใส่มากยิ่งดี บางคนอาจคิดขนาดว่า มันคือ ปุ๋ย บำรุงกล้องกันเลยทีเดียว  (เคยเห็นเบางคนเอาเม็ดๆ เทลงไปให้อุปกรณ์เหมือนใส่ปุ๋ยจริงๆนะ) อันที่จริงแล้วมันดีมากดีที่เลนส์ กล้อง และอุปกรณ์ดิจิตอลของเราจะไม่เป็นรา แต่อะไรต่างๆที่เป็นยางจะแห้งกรอบหมด สังเกตอาการเริ่มแรกได้จาก ยางที่กริ๊ปจับเริ่มแข็ง อายคัพเริ่มกรอบ หากเยียวยาไม่ทันคงถึงขั้นต้องเปลี่ยนกล้องใหม่ สรุป เป็นรายังล้างได้ แต่โค้ทหลุดนิดหน่อย แต่ยางกรอบเนี่ย ซ่อมแพงกว่าล้างอีก อาจถึงขั้นต้องเสียตังค์ซื้อใหม่

วิธีแก้ก็ไม่ยาก หากต้องการทำกล่องดูดความชื้นใช้เอง ก็แค่ต้องไปซื้อไอโกรมิเตอร์มาวัด ควบคุมให้อยู่ความชิ้นสัมพัทธ์ 35 -55 เพราะทุกอย่างต้องการความพอดี ดังที่พระพุทธเจ้าสอนไว้เรื่องทางสายกลาง สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องเขียน แต่ที่มีแน่ๆ คือศึกษาภัณฑ์ มีราคาตั้งแต่ สองร้อยถึง 4-5 ร้อยบาท
ความเชื่อผิดๆ อย่างที่สอง  กระเป๋า กล้องมีไว้เก็บกล้อง ไม่ว่าจะพกไปไหน หรือกลับมาถึงบ้านแล้วก็จะเก็บอยู่ในกระเป๋านั่นแหละ เพราะใส่ซิลิก้าเจลไว้ในกระเป๋าแล้ว ไม่ชื้นชัวร์ 
แต่อย่าลืม !!!!!
กระเป๋ากล้อง ถูกออกแบบมาให้กันกระแทก กระเป๋ากล้องแทบทั้งหมด จึงถูกบุมาด้วยวัสดุที่สะสมความชื้นได้ดี ดังนั้นถึงแม้ เราจะไว้วางใจ ให้ซิลิก้าเจลถุงเล็กๆ ทีเราจับโยนเพื่อควบคุมความชื้นในกระเป๋ากล้อง แต่ตราบใดที่ กระเป๋ากล้องของคุณไม่เป็นระบบปิด การหมุนเวียนของอากาศและความชื้นจากภายนอกยังวนเวียนได้อยู่ ก็เท่ากับว่า ซิลิก้าเจลถุงเล็กๆ ถุงนั้น  ควบคุมความชื้นของทั้งโลก และที่น่าตกใจที่สุดก็คือ หากซิลิก้าเจลถุงเดิม ดูดความชื้นเต็มเมื่อไหร่ มันก็จะคายความชื้นออกมา และอบอวลอยู่ในกระเป๋ากล้อง ที่บรรจุไปด้วยกล้องและเลนส์มูลค่าสูงของคุณนั่นเอง 
ซิลิก้าเจล สำหรับดูดความชื้น มีทั้งแบบ สีม่วง และสีขาว หาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องเขียน

ขู่มาซะยาว เข้าเรื่องซะที แล้ววิธีการเก็บกล้องที่ถูกต้องต้องทำอย่างไร ?
ไม่ยากไม่ง่าย เพียงต้องการความใส่ใจนิดนึงค่ะ
วิธีแรก สำหรับ คนที่เอาเงินมาซื้อกล้องหมด ไม่มีงบเผื่อไว้ดูแลรักษามากมาย ' ไม่เสียตังค์'
                หลังจากเราเอา อุปกรณ์กล้องแสนรัก บุกตะลุย กันอย่างเต็มที่แล้ว กลับมาถึงบ้าน แนะนำให้เอาออกจากกระเป๋าทันที  ไปวางไว้ในที่แห้ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก อาจจะเป็นห้องที่ติดแอร์ อย่างห้องนอน  เพราะอากาศจะแห้งกว่าปรกติ  แต่ไม่ใช่เอาไปวางไว้หน้าห้องน้ำนะคะ อ้อ กระเป๋าก็เอาไปตากแดดไล่ความชื้น นอกจากจะดีกับกล้องแล้วยังดีกับสุขภาพคนถือด้วยค่ะ
วิธีที่สอง ไฮโซขึ้นมาหน่อย เหมาะสำหรับคนเงินน้อยแต่รักจริง ' ไม่เกิน 1000 บาท '
                ให้หากล่องทัพ เปอร์แวย์ ที่มีซีนยางที่ฝา ย้ำนะคะ ต้องมีซีนยางเพื่อให้เป็นระบบปิด แล้วหาซิลิก้าเจล (ขายเป็นกิโล) มาใส่ และที่ขาดไม่ได้คือไอโกรมิเตอร์ ห้ามลืมเด็ดขาดค่ะ  
ข้อดีคือ สามารถเลือกขนาดของกล่องได้ใหญ่ตามใจชอบ  จะเลือกแบบกล่อง สีสวย หรือเก๋กิ๊ฟยังไงก็ตามสะดวกเลยค่ะ แต่ข้อเสียคือซิลิก้าเจลที่ใส่ลงไป มันมีอายุการใช้งาน ถ้าหาดดูดความชื้นไปเต็มเมื่อไหร่ เราต้องเอาไปคั่ว หรือเอาเข้าไมโครเวฟไล่ความชื้น เสียเวลาและต้องใส่ใจดูแลเป็นพิเศษ แถมเวลาจะดูไอโกรมอเตอร์ทีต้องเปิดฝา แนะนำว่าหากล่องแบบใสจะหมดปัญหาเรื่องนี้ค่ะ

 
ไอโกรมิเตอร์วัดความชื้นสัมพัทธ์ ควบคุมให้อยู่ ระหว่าง 35- 55
วิธีที่สาม ซื้อกล่องหรือตู้ดูดความชื้นเฉพาะไปเลยค่ะ  ' 2000'
 อันนี้ก็ขึ้น อยู่กับว่าเรามีเลนส์และอุปกรณ์เยอะแค่ไหน และงบประมาณในกระเป๋าด้วยค่ะ  มีตั้งแต่กล่องดูดความชื้น ราคาตั้งแต่ สองพันบาท ที่คล้ายๆ กับกล่องวิธีที่สอง แต่ในกล่องจะมีระบบจัดการความชื้นที่ค่อนข้างสำเร็จรูป ลักษณะและวิธีก็แล้วแต่กล่องแต่ละรุ่น (ส่วนตัวใช้แบบนี้)  พอความชื้นเต็มก็เอาตัวซิลิก้าไปเสียบปลั๊กชาร์จ  มีไอโกรมิเตอร์ติดอยู่หน้ากล่อง สะดวกกับการควบคุม


อีกแบบที่เห็นใน ท้องตลาด คือกล่องแบบสุญญากาศ ปั้มลมออก มีทั้งแบบดิจิตอลและแบบเข็ม อันนี้เหมาะสำหรับพกพามากกว่า เพราะขนาดจะเล็กกว่าแบบแรก ใส่ของได้น้อย แต่ใช้พลาสติกที่แข็งแรงทนทาน มีหูหิ้ว พกไปไหนมาไหนได้สะดวก

กล่องดูดความชื้นสุญญากาศ แบบปั้มลมออก  

วิธีที่สี่ รักจริง แถมมีอันจะกินด้วย ตู้ดูดความชื้นแบบเสียบปลั๊ก '4000 up'
เหมาะสำหรับผู้ ที่มีอุปกรณ์มากมาย ที่ราคารวมๆ กันแล้ว หลักแสนหลักล้าน ก็แนะนำให้ซื้อแบบตู้เก็บความชื้น ที่เป็นดิจิตอล ตั้งความชื้นที่ต้องการได้ เสียบปลั๊กควบคุมความชื้นตลอดเวลาเลยค่ะ



สรุปแล้ว จะเลือกเก็บกล้องแบบไหน หลักง่ายๆ คือให้อยู่ไกลความชื้น  ที่สำคัญต้องไม่แห้งจนเกินไป  ดูให้ความชื้นสัมพัทธ์ อยู่ที่ประมาณ 35 -55 ส่วนจะเลือกเก็บวิธีไหน ก็ขึ้นอยู่กับเงินในกระเป๋า และความเหมาะสมของอุปกรณ์ที่มีค่ะ ไม่ใช่ว่าซื้ออุปกรณ์มาเป็น แสน แต่มาประหยัดกับการเก็บรักษา ของที่ซื้อมาแพงๆ ก็จะเสื่อมอย่างรวดเร็ว หรือลงทุนซื้ออุปกรณ์สำหรับเก็บกล้อง ราคาเท่าๆกับกล้องที่มีอยู่ อันนี้ก็ไม่คุ้มค่ะ ของทุกอย่างบนโลกนี้ ไม่มีอะไรดีที่สุด มีแต่เหมาะสมที่สุด ก็เลือกให้เหมาะให้ควร อย่าให้ถึงกับเดือดร้อนเลยค่ะ *
Copyright 2009 By Klongdigital.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น