I'M Zwei

I'M Zwei
Welcome To blogger of Zwei

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

เทคนิคการถ่ายรูป

·        DEPTH OF FIELD
การถ่ายภาพลักษณะนี้เพื่อเน้นระยะชัด ผู้ถ่ายภาพต้องเข้าใจการกำหนดค่าของรูรับแสงของเลนส์  เพื่อให้ได้ภาพตามต้องการ
ค่าของรูรับแสง  มีตั้งแต่กว้างสุดคือ 1.2  4  5.6  8  11  16  22  ค่าตัวเลขยิ่งน้อยรูรับแสงยิ่งกว้าง  ระยะชัดของภาพจะสั้นลง  หรือที่เรียกว่า "ชัดตื้น"  ในขณะเดียวกัน  ค่าของตัวเลขยิ่งมาก  รูรับแสงจะแคบลง  ยิ่งแคบมากเท่าใดก็ยิ่งทำให้ภาพเกิดระยะชัดมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
แต่ข้อควรระวัง คือ ยิ่งเปิดรูรับแสงแคบลงเท่าใจ  จะได้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลง  อาจทำให้กล้องสั่นไหวได้ง่าย  ควรใช้ขาตั้งกล้องช่วยเพื่อให้กล้องนิ่งยิ่งขึ้น

ภาพที่ 1 เปิดรูรับแสง F 1.2 ความเร็วชัตเตอร์ 1/1000 วินาที

ภาพที่ 2  เปิดรูรับแสง F 22 ความเร็วชัตเตอร์ 1/60 วินาที


·        LAND SCAPE
หรือการถ่ายภาพภูมิทัศน์  นิยมถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง  เพื่อให้เห็นพื้นที่ในบริเวณกว้าง  แต่ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการ  โดยปกใช้เลนส์มาตรฐานก็ได้เช่นกัน  การถ่ายภาพลักษณะนี้ควรใช้รูรับแสงที่แคบเพื่อให้เกิดระยะชัดมากที่สุด  ควรคำถึงถึงฉากหน้า ฉากหลังของภาพ และการวางจุดสนใจ  หรืออาจใช้อุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น ฟิลเตอร์โพราไรซ์ เพื่อให้สีของภาพอิ่มตัวขึ้น  ท้องฟ้าเข้มขึ้นทำให้ภาพน่าสนใจ

หอประชุมกาญจนภิเษก  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มีเสาธงป็นเส้นนำสายตา
ใช้ฟิลเตอร์โพราไรซ์ ท้องฟ้าจึงเข้มขึ้น


·        STOP ACTION
เป็นเทคนิคการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูง  เพื่อให้ภาพที่เคลื่อนไหวดูหยุดนิ่ง  โดยใช้ตั้งแต่ 1/250 วินาทีขึ้นไป  ขึ้นอยู่กับความเร็วในการเคลื่อนที่ผ่านหน้าเลนส์ของวัตถุ
การถ่ายภาพลักษณะนี้ต้องวางแผนให้ดี  ปรับโฟกัสและวัดแสงไว้ล่วงหน้า  อาศัยการกะระยะและการตัดสินใจที่ฉับไวในการถ่ายภาพ  แต่ต้องอย่าลืมเรื่องการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพมีความงามและมีคุณค่า

ภาพรถจักรยานยนต์ วิ่งด้วยความเร็วสูง ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/500 วินาที รูรับแสง F 5.6


·        ACTION
เป็นการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำ  ถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวเพื่อให้เห็นถึงการเคลื่อนไหว  เพราะความเร็วชัตเตอร์ที่ช้า  จึงทำให้วัตถุที่ต้องการเน้นไม่ชัดเจน  พร่ามัว  จะใช้ความเร็วชัตเตอร์ช้ามากเพียงใดขึ้นอยู่กับความเร็วจองวัตถุที่เคลื่อนที่ผ่านเลนส์  ผู้ถ่ายภาพต้องสามารถประมาณความเร็วได้  ยิ่งช้ามากเท่าใด  ภาพยิ่งพร่ามัวมากเท่านั้น  แต่อย่ามากเกินไปเพราะจะทำให้มองไม่เห็นวัตถุที่ถ่ายให้ชัดเจน

สายน้ำ ที่อำเภอภูเวียง จ.ขอนแก่น  ดูนุ่มนวล ด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำ 1/8 วินาที ใช้ขาตั้งกล้องช่วย


·        PANNING
เป็นการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำ  ถ่ายภาพเคลื่อนไหวเหมือนกับภาพ acti-on  แต่จะใช้เทคนิคการแพนหรือการส่ายกล้องตามวัตถุที่เคลื่อนที่ และกดชัต-เตอร์ขณะที่ส่ายกล้อง  ทำให้วัตถุที่ต้องการเน้นนิ่งเห็นรายละเอียดมากยิ่งขึ้น  แต่ฉากหน้าและฉากหลังที่นิ่งอยู่กับที่ลู่ตามวัตถุ  เป็นที่นิยมมากในการถ่ายภาพกีฬาประเภทต่างๆ

นักวิ่งลมกรด  การถ่ายภาพใช้ความเร็วชัตเตอร1/2  วินาที  รูรับแสง F 22
ส่ายกล้องตามนักกีฬา พร้อมกดชัตเตอร์


·        CLOSE UP
เป็นการถ่ายภาพระยะใกล้เพื่อเน้นรายละเอียด หรือการถ่ายภาพวัตถุขนาดเล็ก  สามารถถ่ายโดยใช้ฟิลเตอร์ Close up ซึ่งมีลักษณะเป็นเลนส์ขยาย  จำหน่ายเป็นชุด ชุดละ 3 อัน  สามารถต่อกันได้  แต่ต้องระวังในการถ่ายเพราะภาพจะชัดเฉพาะตรงกลางภาพ  ส่วนด้านขอบของภาพจะไม่ชัดเพราะความโค้งของเลนส์  ยิ่งใช้ฟิลเตอร์หลายตัวยิ่งลดความคมชัดของภาพลง
ถ้าต้องการคุณภาพดี  ควรใช้เลนส์มาโคร  หรือเลนส์ถ่ายใกล้  จะให้รายละเอียดของภาพมากยิ่งขึ้น
การถ่ายภาพต้องระวังอย่าให้สั่นไหวเด็ดขาด  ควรใช้ขาตั้งกล้องและสายลั่นชัตเตอร์เข้าช่วย  หรือพยายามใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูง  จะช่วยได้มาก

ผีเสื้อและดอกไม้ (ยอดนิยม)  ถ่ายด้วยเลนส์มาโคร 55 มม.  ระยะห่าง 10 ซม.
โฟกัสที่ปลายไม้ และใช้สายลั่นชัตเตอร์ยาว


·        SILHOUETTE
เป็นเทคนิคการถ่ายภาพย้อนแสง  โดยจะไม่เห็นรายละเอียดของวัตถุ  ควรถ่ายในช่วงเช้า  หรือช่วงเย็นที่แสงแดดเริ่มอ่อน  อย่าวัดแสงกับดวงอาทิตย์ตรงๆ ควรวัดแสงที่ท้องฟ้า  เฉียง 45 องศากับดวงอาทิตย์  และลดรูรับแสงให้แคบลง 2-4 Stop หรือถ้าเป็นเวลาเย็นมาก  สามารถมองดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าได้  ก็วัดแสงที่ดวงอาทิตย์ได้เลย
การถ่ายภาพประเภทนี้ต้องระวังเรื่องฉากหน้าและฉากหลังด้วย  เพราะจะทำให้รบกวนภาพทำให้ภาพดูรกตา

ภาพคอยใครเอ่ย ?    วัดแสงที่ท้องฟ้า ลด 2 Stop   ความเร็วชัตเตอร์ 1/250  วินาที รูรับแสง F 11


·        NIGHT PICTURE
หรือการถ่ายภาพไฟกลางคืนที่สวยงาม  จะได้ภาพที่แปลกตา
วิธีการถ่ายภาพ
1.ติดตั้งกล้องกับขาตั้งกล้องให้มั่นคง  พร้อมติดตั้งสายลั่นชัตเตอร์ให้พร้อม
2.ส่องกล้องหาทิศทางในการถ่ายภาพ  ให้ได้มุมที่เหมาะที่สุด
3.คาดคะเนสภาพแสง  เพื่อกำหนดเวลาและรูรับแสง (ถ้าเป็นไฟตามถนนปกติ  จะใช้ประมาณ 5.6 หรือ 8)
4.ตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ B ลั่นชัตเตอร์ค้างไว้ให้รถวิ่งผ่านจนเป็นที่พอใจ  ประมาณ 10-60 วินาที  หรือถ้าทิ้งช่วงเวลานาน  จะใช้ผ้าดำคลุมหน้าเลนส์ไว้ก่อนก็ได้
การถ่ายภาพไฟกลางคืน  ควรถ่ายเผื่อหลายๆ ภาพ  ใช้เวลาในการบันทึกภาพและขนาดรูรับแสงต่างๆ กัน และจดบันทึกไว้จะดีที่สุด  และควรฝึกหัดเป็นประจำเพราะต้องอาศัยความชำนาญสูงในการถ่ายภาพประเภทนี้

ภาพแสงแห่งความหวัง   ความเร็วชัตเตอร์ 15 วินาที  รูรับแสง F 8  เลนส์ 35-70 มม.


·        LOW KEY
ภาพที่มีโทนสีดำมาก  และมีสีตัดกันสูง  ภาพจะดูลึกลับ  สะดุดตา  น่าสนใจ  อาจใช้แสงจากธรรมชาติโดยแสงเข้าในทิศทางเดียว  หรือกระทบวัตถุที่จะถ่ายเพียงด้านเดียว  โดยวัดแสงที่จุดกระทบของแสง  คือ  วัดแสงใกล้ๆ กับวัตถุ  แล้วถอยกล้องออกมาถ่าย  โดยไม่ต้องปรับรูรับแสงหรือความเร็วชัตเตอร์อีก

ภาพคนลูกทุ่ง แสงจากหลอดทังสะเตน   วัดแสงที่ใบหน้า ผู้เป็นแบบ  ความเร็วชัตเตอร์ 1/15  วินาที  รูรับแสง F 1.4   เลนส์ 35-70 มม.


·        CREATIVE
สุดท้ายอยากให้ผู้สนใจ  ลองหามุมมองแปลกๆ สวยงาม น่าสนใจ มีความเป็นตัวของตัวเอง  เพราะจะช่วยทำให้ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น  หลายครั้งที่เห็นนักถ่ายภาพไปถ่ายภาพในสถานที่ต่างๆ แล้วได้ภาพออกมาเหมือนกันหมด  หรือเป็นภาพมุมที่ส.ค.ส. หรือปฏิทิน ตีพิมพ์ออกมาให้เห็นจนชินตา

พระอัฉริยะภาพ
การถ่ายภาพ  เป็นศิลปะอีกสาขาหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสนพระหฤทัยอย่างจริงจังมาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์  พระองค์ทรงศึกษาและฝึกฝนการถ่ายภาพด้วยพระองค์เอง  จนทรงเป็นนักถ่ายรูปที่มีพระปรีชาสามารถยิ่ง  กล้องถ่ายภาพที่ทรงใช้ในระยะเริ่มแรกเป็นกล้องที่ไม่มีเครื่องวัดแสงในตัวจึงต้องใช้พระราชวิจารณญาณอย่างรอบคอบละเอียดถี่ถ้วน  พร้อมทั้งพระปรีชาสามารถส่วนพระองค์  จึงทรงถ่ายภาพได้อย่างเชี่ยวชาญ  แม้ในปัจจุบันกล้องถ่ายภาพจะมีวิวัฒนาการขึ้นกว่าสมัยก่อน ก็มิทรงใช้  แต่ยังทรงใช้แต่กล้องคู่พระหัตถ์แบบมาตรฐานอย่างที่นักเลงกล้องทั้งหลายใช้กัน
พระองค์ทรงเชี่ยวชาญแม้กระทั่งการล้างฟิล์ม  การอัดและขยายภาพทั้งภาพขาวดำและภาพสี  นอกจากนี้ทรงคิดค้นหาเทคนิคใหม่ๆ มาใช้ในการถ่ายภาพอยู่เสมอๆ  ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของพระองค์จึงเป็นผลงานศิลปะที่ล้ำยุค
เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติใหม่ๆ โปรดที่จะถ่ายภาพสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมพระราชโอรสและพระราชธิดา โดยเฉพาะเมื่อได้ทรงเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระตำหนักภูพิงราชนิเวศน์ ซึ่งมีภูมิประเทศที่สวยงามเหมาะแก่การถ่ายภาพ  แต่ในปัจจุบันนี้  พระองค์ทรงมีพระราชภารกิจอันมากมายมหาศาล เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ราษฎร  ไม่มีเวลาสำหรับการถ่ายภาพมากนัก  จะทรงถ่ายภาพก็ได้แต่เฉพาะในคราวที่เสด็จฯ ไปราชการตามสถานที่ต่างๆ เท่านั้น  
ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เหล่านี้ ทรงใช้เพื่อประกอบการทรงงานของพระองค์ ไม่ว่าพระองค์จะเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎร ณ จังหวัดใด  ก็จะทรงมีกล้องถ่ายรูปติดพระองค์ไปด้วยเสมอ โปรดถ่ายภาพสถานที่ทุกแห่ง เพื่อทรงเก็บไว้เป็นหลักฐานประกอบงานที่ได้ทรงปฏิบัติ  ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เหล่านี้ จึงมักเป็นภาพถ่ายซึ่งถ่ายได้ครั้งเดียวด้วยไหวพริบ  ไม่มีเวลาจ้องหาแง่มุม  แต่ด้วยพระปรีชาสามารถ เราจึงได้เห็นภาพฝีพระหัตถ์อันคมชัด และศิลปะในการจัดองค์ประกอบของภาพที่ยอดเยี่ยม  นอกจากนี้  ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เหล่านี้ยังสามารถใช้เป็นหลักฐานในการวางแผนปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  รวดเร็วทันใจและสามารถแก้ไขเหตุการณ์ของบ้านเมืองได้ทันท่วงที
ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ทั้งหลาย ล้วนแสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงถ่ายภาพเพื่อศิลปะแต่เพียงอย่างเดียว  เพราะแต่ละภาพทรงไว้ซึ่งคุณค่าทางศิลปะและวิชาการ  สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศชาติบ้านเมือง และนำความผาสุกร่มเย็นมาสู่ประชาชนชาวไทยได้อย่างดีอีกด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น