สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงในการซื้อกล้อง มีดังต่อไปนี้
• วัตถุประสงค์
• งบประมาณ
• ความรู้เกี่ยวกับกล้อง
• การทดสอบก่อนซื้อ
• วัตถุประสงค์
• งบประมาณ
• ความรู้เกี่ยวกับกล้อง
• การทดสอบก่อนซื้อ
1. วัตถุประสงค์คำถามที่มักจะได้ฟังอยู่เสมอ คือ “ จะใช้กล้องอะไรดี ” “ ช่วยตัดสินใจให้หน่อยจะซื้อกล้องแบบไหนดี ” มากกว่านี้ไปอีกคือจะถามว่า “ ซื้อกล้องยี่ห้ออะไรดี ” ซึ่งเป็นปัญหาที่ตอบยากที่สุดเพราะในปัจจุบันมีกล้องถ่ายรูปให้เลือกเป็นจำนวนมากและฟิล์มที่ใช้ก็มีตั้งแต่เล็กที่สุดกล้องมีหลายประเภทตั้งแต่ประเภทที่ใช้งานบ่อย ๆ ไม่มีกลไกอะไรมากนักแม้กระทั่งการใส่ฟิล์มก็ยังเป็นกลักผู้ใช้จับใส่ตามช่อง ถ้าจับใส่ผิดก็ไม่เข้าจับใส่ใหม่ถ้าเข้าก็เป็นอันใช้ได้ ปิดฝากล้องถ่ายภาพได้เลยเพราะมีปุ่มเดียวเท่านั้น แต่กล้องบางประเภทยุ่งยากซับซ้อน โดยมีปุ่มปรับมากมายถ้าถ่ายไม่เป็นก็จะเสียเอาง่าย ๆ ทำเอาคนที่ไม่รักการถ่ายภาพจริง ๆเลิกสนใจการถ่ายภาพไปเลยฉะนั้นก่อนจะซื้อกล้องต้องทราบถึงวัตถุประสงค์ของตัวเองก่อนว่าจะซื้อกล้องไปใช้ในเหตุผลอันใดเช่น
• เพื่อเก็บบันทึกไว้เป็นที่ระลึก
• เพื่อต้องการถ่ายก๊อปปี้ภาพต่าง ๆเกี่ยวกับงานที่ทำ
• เพื่อต้องการถ่ายภาพทิวทัศน์ขณะท่องเที่ยวชายทะเล ปีนเขาฯลฯ
• เพื่อต้องการถ่ายภาพคน
• เพื่องานโดยเฉพาะ เช่น การทำบัตร
ฯลฯ
• เพื่อต้องการถ่ายก๊อปปี้ภาพต่าง ๆเกี่ยวกับงานที่ทำ
• เพื่อต้องการถ่ายภาพทิวทัศน์ขณะท่องเที่ยวชายทะเล ปีนเขาฯลฯ
• เพื่อต้องการถ่ายภาพคน
• เพื่องานโดยเฉพาะ เช่น การทำบัตร
ฯลฯ
เมื่อทราบจุดประสงค์แล้วก็เริ่มศึกษาประเภทของกล้อง จะทราบคำตอบด้วยตัวเองว่าจะเลือกใช้กล้องประเภทไหนดี เพราะกล้องแต่ละประเภทก็จะเหมาะกับงานแต่ละอย่าง
2. งบประมาณเมื่อเลือกประเภทได้แล้วตัวเราเองเท่านั้นที่จะตอบตัวเองได้ดีกว่าใครอื่นว่า “ จะซื้อกล้องยี่ห้อไหนดี ” เพราะกล้องปัจจุบันนี้มีราคาต่างกันมากมาย ตัวอย่างเช่นถ้าท่านเลือกได้แล้วจะซื้อกล้อง 35 ม . ม . เลนส์เดี่ยวสะท้อนภาพ SLR ก็จะมีราคาให้ท่านเลือกตั้งแต่ 3-4 พันบาทไปจนถึงราคา 3-4 หมื่น หรือเป็นแสนก็มีข้อคิดสำหรับตัวท่านก็คือจะสำรวจงบประมาณของตัวเองและความจำเป็นที่ต้องใช้งบประมาณของท่านจะเป็นตัวบ่งยี่ห้อและรุ่นที่จะซื้อได้ดีสมมุติถ้าท่านมีงบประมาณไม่จำกัด “ เท่าไรก็ได้ ” โปรด หยุดคิดสักนิดว่าท่านจะใช้คุ้มกันเงินหมื่นที่ลงทุนไปหรือเปล่า มีความจำเป็นต้องซื้อให้แพง ๆเพื่อจะได้มีปุ่มโน้นปุ่มนี้แค่ไหนถ้าซื้อมาแล้วจะมีโอกาสใช้ระบบเหล่านี้หรือเปล่าน่าคิด
3. ความรู้เกี่ยวกับกล้องท่านมีความรู้เกี่ยวกับกล้องดีหรือยัง โดยเฉพาะส่วนประกอบของกล้อง ปุ่มต่าง ๆระบบการทำงานต่าง ๆ ของกล้องโดยเฉพาะประสิทธิภาพในการทำงานและผลที่จะได้รับจากระบบปุ่ม กลไก เหล่านั้น ถ้ายังไม่มีต้องศึกษาดูให้ถ่องแท้เสียก่อนโดยเฉพาะรุ่นที่ท่านกำลังจะซื้อ หาแบบของกล้องซึ่งมักจะบอกข้อมูลมาศึกษาและลองเปรียบเทียบกับกล้องที่ราคาใกล้เคียงดูว่าจะแตกต่างกันอย่างไรคงจะช่วยในการตัดสินใจก่อนซื้อได้ดี
4. การทดสอบก่อนซื้อ
4.1 สภาพทั่วไป
• รอยต่อต่าง ๆ ภายนอก กรอบ ๆกล้อง รอยขีดข่วนของเลนส์กล้องกับเลนส์ยี่ห้อเดียวกันหรือไม่
• ลองเขย่ากล้องไปมาโดยจับกล้องให้แน่นเขย่าใกล้กับใบหูเพื่อฟังส่วนบกพร่องของชิ้นส่วนที่หลวมแต่ผู้ทดสอบควรจะมีความรู้ในส่วนประกอบของกล้องพอสมควรทั้งนี้เพราะกล้องโดยทั่วไปจะมีเสียงตามปกติอยู่แล้วตามระบบของแต่ละกล้องดังนั้นผู้ทดสอบต้องมีความรู้พอที่จะแยกให้ออกว่าเสียงที่ดังนั้นดังเพราะอะไรปกติหรือผิดปกติอย่างไร
• รอยต่อต่าง ๆ ภายนอก กรอบ ๆกล้อง รอยขีดข่วนของเลนส์กล้องกับเลนส์ยี่ห้อเดียวกันหรือไม่
• ลองเขย่ากล้องไปมาโดยจับกล้องให้แน่นเขย่าใกล้กับใบหูเพื่อฟังส่วนบกพร่องของชิ้นส่วนที่หลวมแต่ผู้ทดสอบควรจะมีความรู้ในส่วนประกอบของกล้องพอสมควรทั้งนี้เพราะกล้องโดยทั่วไปจะมีเสียงตามปกติอยู่แล้วตามระบบของแต่ละกล้องดังนั้นผู้ทดสอบต้องมีความรู้พอที่จะแยกให้ออกว่าเสียงที่ดังนั้นดังเพราะอะไรปกติหรือผิดปกติอย่างไร
4.2 ตรวจช่องมองภาพปรับหาระยะชัดโดยมองที่วัตถุใดวัตถุหนึ่งเอาไว้ แล้วลองหมุนแหวนปรับระยะชัดที่วัตถุนั้นจากนั้นเอากล้องอ่านค่าวงแหวนปรับระยะชัดว่าตรงกับระยะห่างของวัตถุถึงกล้องหรือเปล่าถ้าไม่ถึงก็แสดงว่ากล้องนั้นบกพร่อง
4.3 ตรวจความเร็วชัตเตอร์ลองตั้งความเร็วชัตเตอร์ตั้งแต่ต่ำสุด เช่น 1 แล้วกดชัตเตอร์ แล้วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 2 กดชัตเตอร์ 4-8-15 ลองฟังเสียงดูว่าความเร็วแต่ละระดับเพิ่มขึ้นเป็นอัตราส่วนหรือเปล่าการทำงานของชัตเตอร์ราบเรียบสม่ำเสมอหรือไม่และยังเป็นการทดสอบด้วยว่าความเร็วของกล้องตัวนั้นใช้ได้ทุกระดับปกติหรือไม่
4.3 ตรวจความเร็วชัตเตอร์ลองตั้งความเร็วชัตเตอร์ตั้งแต่ต่ำสุด เช่น 1 แล้วกดชัตเตอร์ แล้วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ 2 กดชัตเตอร์ 4-8-15 ลองฟังเสียงดูว่าความเร็วแต่ละระดับเพิ่มขึ้นเป็นอัตราส่วนหรือเปล่าการทำงานของชัตเตอร์ราบเรียบสม่ำเสมอหรือไม่และยังเป็นการทดสอบด้วยว่าความเร็วของกล้องตัวนั้นใช้ได้ทุกระดับปกติหรือไม่
4.4 ตรวจระบบวัดแสงโดยใช้ฝ่ามือบังหน้าเลนส์แล้วค่อย ๆ เลื่อนออกสังเกตดูว่าเข็มหรือสัญญาณในการวัดแสงเคลื่อนตามหรือไม่จากนั้นลองปิดสวิตซ์ระบบวัดแสงแล้วเปิดใหม่สังเกตดูว่าระบบวัดแสงทำงานทันทีหรือไม่ระบบวัดแสงที่ดีจะต้องทำงานทันที
4.5 ทดสอบการทำงานของกล้องเมื่อใช้กับแฟลชว่าทำงานสัมพันธ์กันดีหรือไม่ โดยเสียบ ไฟแฟลชแยกตัวแฟลชออกหันเข้าหากล้องเปิดฝาหลังกล้องแล้วคอยสังเกตให้ดีกดชัตเตอร์จะเห็นแสงไฟแฟลชลอดผ่านม่านชัตเตอร์สัมพันธ์กันพอดี
4.6 ตรวจรูรับแสงของกล้องว่าในขณะที่เปลี่ยนหน้ากล้องตามตัวเลข 16, 11, 8, 5, 6, 4, 2, 8, 2, 1, 4 นั้นรูรับแสงเปลี่ยนขนาดหรือไม่
4.7 ข้อเตือนใจสุดท้ายหากท่านซื้อกล้องใช้แล้วโปรดอย่าใช้อายุของกล้องเป็นจุดใหญ่มาตัดสินการตกลงใจในการซื้อเพราะกล้องที่ผู้ขายบอกว่า “ ใช้เพียงเดือนเดียว ” อาจมีสภาพแย่กว่า “ กล้องที่ซื้อมาใช้แล้ว 1 ปี ” ก็ได้ ทั้งนี้กล้องเป็นสิ่งที่บอบบางถ้าผู้ใช้ใช้ไม่เป็น รักษาไม่เป็น เพียง 1 เดือน ก็อาจจะโทรมยิ่งกว่า 1 ปีของคนใช้และรักษากล้องเป็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น