I'M Zwei

I'M Zwei
Welcome To blogger of Zwei

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อุปกรณ์การถ่ายภาพ

1. ตัวกล้อง (Camera body)
เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในการถ่ายภาพ  ตัวกล้องจะมีลักษณะเป็นกล่องภายในสีดำปิดมิดชิดเพื่อป้องกันแสงกระทบกับฟิล์ม  ตัวกล้องอาจทำด้วยโลหะหรือพลาสติกแข็งซึ่งแต่ละบริษัทใช้ผลิตออกมาจำหน่าย  ภายในตัวกล้องจะมีกลไกต่างๆ หรืออุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่ทำงานร่วมกันในการบันทึกภาพ  กล้องบางรุ่นอาจเป็นระบบกลไก  บางรุ่นอาจเป็นระบบกึ่งอัตโนมัติ  หรือบางรุ่นอาจเป็นระบบดิจิตอลเพื่ออำนวยความสะดวกในการถ่ายภาพ  ภายในตัวกล้องจะมีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้

ภาพแสดงกล้อง 35 มม. สะท้อนเลนส์เดี่ยว
นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้  กล้องถ่ายภาพได้มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง  ได้มีการนำเอาระบบดิจิตอล (Digital) ที่มีความสะดวกรวดเร็วและมีความแม่นยำในการถ่ายภาพ  ทำให้รูปแบบของกล้องถ่ายภาพได้เปลี่ยนไป  จากการบันทึกภาพด้วยฟิล์มมาเป็นการบันทึกภาพด้วยระบบหน่วยความจำ (Memory)และสามารถแสดงผลได้ทั้งทางจอภาพคอมพิวเตอร์ (Monitor) และแสดงผลหรือพิมพ์ภาพผ่านเครื่องพิมพ์ (Printer)


2. เลนส์ (Lens)
เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการถ่ายภาพ  ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางที่ถ่ายทอดแสงสะท้อนภาพให้ผ่านเข้าไปในกล้อง  รวมแสงให้เป็นภาพที่มีความคมชัด  บันทึกลงแผ่นฟิล์ม  เลนส์สำหรับกล้องถ่ายภาพ 35 มม.  สะท้อนเลนส์เดี่ยวนั้น จะทำจากแก้วเลนส์จำนวนหลายชิ้น  เลนส์แต่ละชิ้นเคลือบด้วยสารไวแสงเพื่อให้การรับภาพมีความคมชัด  และภายในกระบอกเลนส์จะมีแผ่นไดอะแฟรม (Diaphragm) สำหรับเพิ่มหรือลดขนาดรูรับแสง  เพื่อควบคุมปริมาณแสงเข้าไปในตัวกล้อง

ภาพแสดงเลนส์ถ่ายภาพ
2.1 ชนิดของเลนส์
นักประดิษฐ์เลนส์ถ่ายภาพพยายามพัฒนา  และออกแบบเลนส์ให้เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภท  โดยจำแนกประเภทของเลนส์ตามความยาวโฟกัส (Focal length)  เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสแตกต่างกันจะให้ผลในการถ่ายภาพแตกต่างกันออกไป  โดยมีเลนส์ขนาดหนึ่งใช้เป็นเลนส์ประจำกล้องเพื่อถ่ายภาพธรรมดาทั่วไป  ซึ่งมีองศาในการรับภาพใกล้เคียงกับสายตาของมนุษย์ในการมองทั่วไป  และมีเลนส์ขนาดอื่นแตกต่างกันออกไป  อีกทั้งชนิดที่มีองศารับภาพกว้างเหมาะสำหรับถ่ายภาพภูมิทัศน์ (Landscape)  และเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสแคบแต่สามารถถ่ายภาพในระยะไกลได้  นอกจากนี้ยังมีเลนส์ชนิดพิเศษ  สามารถอำนวยความสะดวกในการถ่ายภาพให้ได้ลักษณะตามต้องการ  โดยจำแนกชนิดของเลนส์  ดังนี้
2.1.1.เลนส์มาตรฐาน (Normal lens หรือ Standard lens)
เป็นเลนส์ประจำกล้อง  ซึ่งเมื่อซื้อกล้องถ่ายภาพจะมีเลนส์ชนิดนี้ติดมาด้วย  เป็นเลนส์ที่ใช้ง่าย  มีความยาวโฟกัสระหว่าง 40-58 มม.  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขนาด 50 มม. (โดยวัดจากกึ่งกลางเลนส์ถึงฟิล์ม)  เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มเรียนรู้ในเรื่องการถ่ายภาพ  เป็นเลนส์ที่มีองศาในการรับภาพกว้างประมาณ 47 องศาซึ่งใกล้เคียงกับสายตาของมนุษย์

เลนส์มาตรฐาน  เหมาะสำหรับถ่ายภาพทั่วไป
2.1.2.เลนส์มุมกว้าง (Wide-angle lens)
เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้นกว่าเลนส์มาตรฐาน  และรับภาพได้มุมกว้างกว่า  เหมาะสำหรับถ่ายภาพในสถานที่แคบหรือระยะห่างระหว่างกล้องถ่ายภาพกับวัตถุที่จะถ่ายอยู่ใกล้กันแต่ต้องการเก็บภาพเป็นบริเวณกว้าง  ซึ่งเลนส์ชนิดอื่นเก็บภาพได้ไม่หมด  เหมาะสำหรับถ่ายภาพภูมิทัศน์ (Land scape) หรือภาพในลักษณะอื่นๆ  เลนส์ชนิดนี้มีความชัดลึกสูงมาก  คือแสดงให้เห็นระ-ยะชัดตั้งแต่ใกล้สุดถึงไกลสุดได้ดี  แต่ต้องระมัดระวังในเรื่องของสัดส่วนระยะ (Perspective) ต่างๆ  จะเกิดการผิดเพี้ยน (Distortion)  ถ้าความยาวโฟกัสยิ่งสั้นมากยิ่งผิดเพี้ยนมากขึ้น  คือ  ภาพจะมีความโค้งเป็นรัศมีวงกลมเลนส์มุมกว้าง  แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
2.1.2.1 เลนส์มุมกว้างธรรมดา (Moderate Wide-angle lens) มีความยาวโฟกัสระหว่าง 28-35 มม.  มีมุมองศาในการรับภาพระหว่าง 74-62 องศา
2.1.2.2 เลนส์มุมกว้างมาก (Ultra Wide-angle lens)  มีความยาวโฟกัสอยู่ระหว่าง 13 -24 มม.  มีมุมองศาในการรับภาพ 118-84 องศา

ภาพเลนส์มุมกว้างมาก (Ultra Wide-angle lens) ขนาด 24 มม.
2.1.2.3 เลนส์มุมกว้างพิเศษหรือเลนส์ตาปลา (Fisheye lens)  มีความยาวโฟกัสน้อยมาก  คืออยู่ระหว่าง 6 - 16 มม.  มีมุมองศาในการรับภาพ 180-360 องศา  ภาพที่ได้จะมีลักษณะโค้งกลม  นิยมใช้สำหรับการถ่ายภาพในลักษณะสร้างสรรค์ และแปลกตา

เลนส์มุมกว้างพิเศษ หรือเลนส์ตาปลา (Fisheye lens)
2.1.3. เลนส์ถ่ายภาพไกล (Telephoto lens)
เลนส์ชนิดนี้มีคุณสมบัติตรงข้ามกับเลนส์มุมกว้าง  คือ  มีความยาวโฟกัสยาวกว่าเลนส์มาตรฐานและเลนส์มุมกว้าง  มีมุมรับภาพแคบเฉพาะส่วนหนึ่งเท่านั้น  เมื่อรับภาพในระยะและตำแหน่งเดียวกัน  จะทำให้ภาพที่บันทึกได้มีขนาดใหญ่กว่าการใช้เลนส์ธรรมดาและเลนส์มุมกว้าง
เลนส์ถ่ายภาพไกลมีขนาดความยาวโฟกัสแตกต่างกันหลายขนาด  จาก 70 มม. ถึง 2,000 มม.  มีมุมองศาการรับภาพตั้งแต่ 34-3 องศา  เพื่อใช้ประโยชน์ต่างกัน  ซึ่งพอจะแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ตามความยาวโฟกัสได้ดังนี้
2.1.3.1 เลนส์ถ่ายภาพไกลช่วงสั้น (Short Telephoto lens)  มีความยาวโฟกัสอยู่ระหว่าง 70-135 มม.  มีมุมองศาในการรับภาพกว้างประมาณ 34-18 องศา  เหมาะสำหรับการถ่ายภาพทั่วๆ ไป  เช่น  ภาพบุคคล  ภาพภูมิทัศน์  ภาพถ่ายระยะใกล้  เป็นต้น

เลนส์ถ่ายภาพไกลช่วงสั้น (Short Telephoto lens) ขนาด 135 มม
2.1.3.2 เลนส์ถ่ายภาพไกลปานกลาง (Medium Telephoto lens)  มีขนาดความยาวโฟกัสอยู่ระหว่าง 150-300 มม.  มุมองศาในการรับภาพจะแคบลงอยู่ระหว่าง 18-8 องศา  เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ไม่สามารถเข้าใกล้วัตถุที่จะถ่ายได้  เช่น  สัตว์ในกรง  วัตถุที่อยู่ที่สูงพอสมควร  เป็นต้น

เลนส์ถ่ายภาพไกลปานกลาง (Medium Telephoto lens) ขนาด 300 มม.
2.1.3.3 เลนส์ถ่ายภาพช่วงไกล (Long Telephoto lens)  มีความยาวโฟกัสระหว่าง 400-600 มม.  มุมองศาในการรับภาพจะแคบลงอยู่ระหว่าง 6-4 องศา  เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่อยู่ไกล  เช่น  นกบนต้นไม้  การแข่งขันกีฬา  เป็นต้น

เลนส์ถ่ายภาพช่วงไกล (Long Telephoto lens) ขนาด 600 มม.
2.1.3.4 เลนส์ถ่ายภาพไกลช่วงพิเศษ (Super Long Telephoto lens)  มีความยาวโฟกัสระหว่าง 800-2,000 มม.  มุมองศาในการรับภาพจะแคบลงอยู่ระหว่าง 3-1 องศาเท่านั้น  สำหรับภาพที่ต้องการกำลังขยายมาก  เช่น  ภาพถ่ายทางดาราศาสตร์  ภาพถ่ายบนตึกสูง  เป็นต้น  เลนส์พวกนี้จะน้ำหนักมากเป็นพิเศษ  ควรใช้ขาตั้งกล้องช่วยในการถ่ายภาพ
เลนส์ถ่ายภาพไกลช่วงพิเศษ (Super Long Telephoto lens) ขนาด 1,000 มม.
2.1.4. เลนส์ถ่ายภาพต่างระยะ (Zoom lens)
เลนส์ถ่ายภาพต่างระยะ (Zoom lens) หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า  เลนส์ซูม  เลนส์ชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างมากเพราะใช้สะดวก  มีเลนส์รวมกันอยู่หลายชนิดในตัวเดียว  สามารถเปลี่ยนทางยาวโฟกัสได้ในตัวด้วยการเลื่อนกระ-บอกเลนส์ (สำหรับเลนส์แบบวงแหวนเดียว)  หรือการหมุนวงแหวนปรับระยะ  (สำหรับเลนส์แบบสองวงแหวน)  ไม่ต้องคอยเปลี่ยนเลนส์บ่อยๆ  เหมือนกับเลนส์ชนิดความยาวโฟกัสคงที่  แต่เนื่องจากเลนส์ชนิดนี้มีชิ้นเลนส์มาก  จึงทำให้ความคมชัดลดลงเล็กน้อย  จึงไม่เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการขยายใหญ่มากๆ  แต่ก็เป็นเลนส์ที่มีผู้นิยมใช้กันมากตามเหตุผลที่ได้กล่าวมา  เลนส์ถ่ายภาพต่างระยะหรือเลนส์ซูมนี้มีหลายขนาดให้เลือกใช้  โดยแบ่งออกเป็นหลายประเภท  คือ
2.1.4.1 เลนส์ซูมช่วงมุมกว้าง (Wide angle Zoom)  มีช่วงขนาดความยาวโฟกัสสั้น  รับภาพได้มุมกว้าง  เช่นขนาด 20 -35 มม. 24-35 มม. 24-50 มม.  เหมาะสำหรับการใช้งานในการถ่ายภาพมุมกว้าง

ภาพเลนส์ซูมช่วงมุมกว้าง (Wide angle Zoom) ขนาดความยาวโฟกัส 20-35 มม
2.1.4.2 เลนส์ซูมช่วงสั้น (Short Zoom)  เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสตั้งแต่ขนาดสั้นถึงปานกลาง  โดยจะมีเลนส์ขนาดมาตรฐานรวมอยู่ด้วย  เป็นเลนส์ซูมที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด  ราคาค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับเลนส์ซูมขนาดอื่นๆ กล้องถ่ายภาพของบางบริษัทจะใช้เลนส์ซูมประเภทนี้แทนเลนส์มาตรฐาน  มีช่วงความยาวโฟกัสที่นิยมใช้  คือ  ขนาด 35-70 มม.  35-105 มม.  35-135 มม.  เป็นต้น

เลนส์ซูมช่วงสั้น (Short Zoom) ขนาดความยาวโฟกัส 35-70 มม.
2.1.4.3 เลนส์ซูมช่วงไกล (Telephoto Zoom)  เป็นเลนส์ซูมที่มีความยาวโฟกัสสูงกว่าเลนส์สองประเภทที่ได้กล่าวมา  โดยมีขนาดที่นิยมใช้  คือ  80-200 มม.  100-300 มม.  สำหรับใช้งานแทนเลนส์ถ่ายภาพระยะไกล  เลนส์ประเภทนี้จะมีน้ำหนักมาก  ผู้ใช้ต้องอาศัยทักษะและความชำนาญในการใช้ เพราะอาจทำให้กล้องสั่นไหวได้ง่าย

เลนส์ซูมช่วงไกล (Telephoto Zoom) ขนาดความยาวโฟกัส 80-200 มม.
2.1.4.4 เลนส์ซูมช่วงไกลพิเศษ (Super Telephoto Zoom)  เป็นเลนส์ซูมที่มีช่วงความยาวโฟกัสสูงมาก  เหมาะสำหรับผู้ที่ถ่ายภาพเฉพาะด้าน  เช่น  ช่างภาพที่ถ่ายภาพกีฬาบางประเภท  นักถ่ายภาพสารคดี  หรือนักถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ก็นิยมใช้เลนส์ประเภทนี้  เลนส์ซูมประเภทนี้มีขนาดช่วงความยาวโฟกัสที่นิยมใช้  คือ  80-400 มม. 400-800 มม. 360-1200 มม.  เป็นต้น

เลนส์ซูมช่วงไกลพิเศษ (Super Telephoto Zoom) ขนาดความยาวโฟกัส 80-400 มม.
นอกจากเลนส์ซูมทั้ง 4 ประเภทที่ได้กล่าวมาแล้ว  บางบริษัทยังได้ผลิตเลนส์ซูมประเภทอื่นๆ อีก  เช่น  มาโครซูม (Macro Zoom) สำหรับถ่ายภาพระยะใกล้  หรือเลนส์ซูมที่เป็นเลนส์รวมตั้งแต่เลนส์มุมกว้างถึงเลนส์ถ่ยภาพระยะไกลปานกลาง  เช่น  ขนาดความยาวโฟกัส 28-20 มม. 35-200 มม.  ดังนั้น  การเลือกใช้เลนส์ชนิดนี้จึงควรคำนึงถึงความจำเป็นในการใช้งาน  และสะดวกเป็นสำคัญ  เพราะเลนส์ที่มีช่วงความยาวโฟกัสห่างกันมากเท่าใด  ก็จะมีน้ำหนักมากขึ้น  และราคาก็จะสูงขึ้นไปด้วย
2.1.5 เลนส์ภาพถ่ายใกล้ (Macro lens)
เลนส์ถ่ายภาพใกล้หรือที่เรียกว่ามาโครเลนส์  เป็นเลนส์ชนิดที่สามารถถ่ายภาพในระยะใกล้ๆ ได้มากเป็นพิเศษ  ให้อัตราขยายของภาพได้ดีกว่าเลนส์ชนิดอื่นๆ  เหมาะสำหรับถ่ายภาพวัตถุที่มีขนาดเล็ก  เช่น  แมลง  ดอกไม้  เครื่องประดับ  หรือวัตถุอื่นๆ ที่ต้องการความคมชัดและให้เห็นรายละเอียดมาก  ซึ่งเลนส์ชนิดอื่นทำไม่ได้  และยังสามารถใช้ถ่ายภาพทั่วๆ ไปได้เช่นเดียวกับเลนส์ชนิดอื่นๆ ที่มีขนาดความยาวโฟกัสเท่ากัน
เลนส์มาโครมีขนาดความยาวโฟกัสหลายขนาด  ที่ใช้ทั่วไปมีตั้งแต่ 50 มม. 55 มม. 85 มม. 105 มม.  โดยมีอัตราขยายของภาพมีอัตราส่วน  คือ  1:2 (ขนาดภาพที่ปรากฏบนฟิล์มจะมีขนาดครึ่งเท่าของวัตถุ)  หรือ 1:1 (ขนาดภาพที่ปรากฏบนฟิล์มจะมีขนาดกันกับวัตถุ)

เลนส์มาโคร ขนาด 55 มม.

ภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์มาโคร
จากเลนส์ทั้ง 5 ชนิดที่ได้กล่าวมา  เป็นเลนส์ที่นิยมใช้กันทั่วไป  อีกทั้งยังได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเลนส์ให้มีความทันสมัย  และมีความสะดวกขึ้น  เช่น  มีการปรับระยะชัดแบบอัตโนมัติ (Auto focus)  การปรับเพิ่ม-ลดรูรับแสงอัตโนมัติ  การนำเอาระบบสะท้อนด้วยกระจกมาใช้เพื่อลดความยาวของเลนส์ถ่ายภาพระยะไกลที่มีความยาวโฟกัสสูงๆ ให้มีขนาดสั้นลง  หรือเลนส์มุมกว้างที่มีการแก้ระนาบภาพเอียง

ภาพถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง 24 มม.

ภาพถ่ายด้วยเลนส์มาตรฐาน 50 มม.

ภาพถ่ายด้วยเลนส์ถ่ายระยะไกล 135 มม.

ภาพถ่ายด้วยเลนส์ถ่ายระยะไกล 200 มม.
2.2 ความไวแสงของเลนส์ (Lens Speed)
ความไวแสงของเลนส์  หมายถึง  ขนาดความกว้างของรูรับแสงเมื่อเปิดรูรับแสงกว้างที่สุด  เลนส์ที่สามารถเปิดรูรับแสงได้กว้างกว่า  แสดงว่าเลนส์ตัวนั้นมีความไวแสงมากกว่า  ซึ่งจะมีข้อได้เปรียบในการถ่ายภาพในที่ที่มีแสงน้อย  และสามารถปรับความเร็วชัตเตอร์ได้เร็วกว่าเลนส์ที่มีความไวแสงน้อย  แต่เลนส์ยิ่งมีค่าความไวแสงมาก  ราคาของเลนส์ก็จะสูงขึ้นไปด้วย  ดังนั้นจึงควรเลือกใช้เท่าที่จำเป็นและงบประมาณที่มี
ความกว้างของรูรับแสงจะมีตัวเลขบอกค่าไว้ที่กระบอกเลนส์  เรียกว่า  เอฟ/สต็อป (f/stop) หรือ เอฟ/นัมเบอร์ (f/number) ซึ่งมีค่ากำหนดไว้  เช่น 1.2  1.4  4  5.6  8  11  22  ตัวเลขยิ่งมากเท่าใดรูรับแสงยิ่งแคบลง

ภาพแสดงความกว้างของรูรับแสงและค่า เอฟ/สต็อป ของเลนส์ถ่ายภาพ
นอกจากนี้  ผู้ศึกษาการถ่ายภาพควรศึกษาอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ เพิ่มเติม  เช่น  ไฟแฟลช  แว่นกรองแสง  ฟิล์ม  ขาตั้งกล้อง  เพื่อให้เข้าใจและพัฒนาทักษะในการถ่ายภาพต่อไป

3.ขาตั้งกล้อง หรือ tripod เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับผู้ถ่ายภาพทั้งมืออาชีพและสมัครเล่น โดยเฉพาะปัจจุบัน ที่คนหันมาเล่นกล้อง DSLR มากขึ้น ขาตั้งกล้องก็ยิ่งมีความจำเป็นขึ้น ขาตั้งกล้องทุกวันนี้มีหลากหลายระดับราคา การเลือกก็ต้องเหมาะกับการใช้งาน ทั้งวัสดุ การรับน้ำหนัก การปรับระยะ การเก็บ ถ้าเป็นขาตั้งระดับล่างๆ ก็มีข้อดีคือราคาถูก เหมาะกับคนที่ไม่ได้ค่อยได้ใช้บ่อย มีติดไว้ตอนจำเป็นนิดหน่อย และมักใช้กล้องที่น้ำหนักไม่มาก ข้อเสียก็คือ ไม่ทน รับน้ำหนักได้ไม่มาก ใช้นานเข้าก็เริ่มหัก เริ่มเสีย การล็อคไม่แข็งแรง อาจเสี่ยงถ้าจะใช้กับกล้องที่มีราคาค่อนข้างสูง วันนี้เราเลือกขาตั้งกล้องรุ่นระดับราคากลางๆ จากแบรนด์ดัง 2 แบรนด์ คือ SLIK จากญี่ปุ่น และ BENRO จากจีนมาแนะนำให้รู้จักกันครับ 
SLIK U7700
เป็นขาตั้งอลูมิเนียม รุ่นประหยัด มาพร้อมหัวแพน 3 ทิศ น้ำหนัก 1.3kg รับน้ำหนักเต็มที่ได้ 2.5kg เหมาะกับกล้องวีดีโอ และ DSLR พร้อมเลนส์ขนาดทั่วๆไป และใส่แฟลชได้ ยืดสูงสุดได้ 145cm หดเล็กสุด 51.5cm ข้อดีคือน้ำหนักเบาเพียง ขนาดและรูปร่างใกล้เคียงกับ Vertex รุ่น V8400 แต่ราคาสูงกว่านิดหน่อย เนื่องจากแข็งแรงกว่า ทนทาน การปรับและวัสดุตัวล็อคมั่นคงกว่า จับเทียบกันก็จะรู้ครับ
SLIK U7700


SLIK Sprint Pro SLIK Sprint Pro GM
เป็นรุ่นที่เหมาะอย่างยิ่งกับสำหรับการพกพา เพราะตัวบาง น้ำหนักเบาเพียง 890g แต่แข็งแรงเพราะทำจากวัสดุผสมแมกนีเซียม ขนาดพับเก็บเพียง 48cm (4ท่อน) แต่ใช้งานได้ครอบคลุมมากเช่น กางสูงสุดได้ 1635mm กางต่ำสุดเพียง 16.2cm ถอดแกนและกลับหัวเพื่อถ่ายมาโครและเอกสารได้ และรับน้ำหนักได้เต็มที่ถึง 3kg รุ่นนี้มาพร้อมกับหัวบอลที่ช่วยให้ปรับรอบทิศได้รวดเร็วเพียงปุ่มเดียว หัวสามารถถอดเปลี่ยนได้ครับ ถ้ากล้องกับเลนส์ที่ใช้น้ำหนักมากไปหน่อย ก็เปลี่ยนหัวที่ใหญ่ขึ้นได้ ใช้ยี่ห้ออื่นก็ได้ครับ
SLIK Sprint Pro



SLIK Pro 330DXอยู่ ในตระกูล Pro (อันที่จริงมีอีกรุ่นที่น่าสนใจคือรุ่น 500DX) แต่ขนาดจะใหญ่ไปนิดสำหรับการใช้งานทั่วๆไป และราคาสูงไปอีก รุ่น 330DX นี้ทำจากวัสดุ AMT (super Aluminum-Magnesium-Titanium alloy) ช่วยเพิ่มอัตราส่วนความแข็งแรงต่อน้ำหนัก ทำให้ขาตั้งรุ่นนี้ มีความแข็งแรงสูงในขณะที่น้ำหนักไม่มาก ขนาดไม่หนามาก 330DX นี้มีน้ำหนัก 1.67kg แต่รับน้ำหนักได้ถึง 4kg มาพร้อมหัวแพน 3 ทิศทาง ซึ่งถอดเปลี่ยนได้ ความสูงตอนใช้งานเต็มที่ 160cm ต่ำสุดตอนใช้งาน 51cm และขนาดตอนเก็บ 60cm SLIK Pro 330DX

Benro A057 n6 BENRO A057 n6 พร้อมหัวบอล BH0ยี่ห้อนี้มาจากเมืองจีนครับ แต่ดังระดับโลกไม่แพ้ Slik เลย รุ่นที่แนะนำเป็นรุ่นราคาไม่แพง วัสดุทำจาก Aluminium Alloy รูปร่างบึกบึน แข็งแรง น้ำหนักเบาขาเป็นแบบ 3 ท่อน ทำให้เวลากางสุดจะมั่นคงกว่าแบบ 4 ท่อน มีคุณสมบัตเด่นๆ เช่น มีตะขอสำหรับแขวนเก็บ หรือเกี่ยวตัวถ่วงน้ำหนักเพื่อให้มั่นคงขึ้น ตัวล็อคขาเป็นแบบหมุน ไม่ใช้แบบกริป ทำให้ยึดหดได้เร็ว และหมดปัญหาเรื่องทรายเข้าไปติด ขาพร้อมหัวรุ่นนี้กางสุดสูงได้ 144.4cm ปรับต่ำสุดได้ 55.6cm ความยาวตอนเก็บเหลือ  59.6cm น้ำหนักรวมหัวบอล 1.53kg และรับน้ำหนักได้เต็มที่ 2.5kg รุ่นนี้มาพร้อมหัวบอล BH0 ขนาดกลางๆ มีเพลตมาด้วย หัวจะแข็งแรงกว่าหัวที่มากับ Slik Sprint Pro GM ครับ ราคาเฉพาะหัวก็อยู่ที่ 1625 บาทแล้วครับ ซื้อพร้อมขาคุ้มครับ
BallHead BH-0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น