มนุษย์ในสมัยที่ยังไม่มีการประดิษฐ์คิดค้นกล้องถ่ายภาพขึ้นมานั้น ใช้การวาดภาพในการบันทึกความทรงจำและสื่อความหมายต่างๆ แต่ต่อมาในศตวรรษที่ 19 นั้น มนุษย์ได้คิดค้นกระบวนการถ่ายภาพขึ้นจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 2 สาขา คือ
1.) ฟิสิกส์ ได้แก่เรื่องของแสงและกล้องถ่ายภาพ
2.) เคมี ได้แก่เรื่องเกี่ยวกับสารไวแสงและน้ำยาสร้างภาพ
การถ่ายภาพเป็นการรวม 2 หลักการที่สำคัญเข้าด้วยกัน คือ การทำให้เกิดภาพจำลองของวัตถุ ไปปรากฏบนฉากรองรับ และการใช้สื่อกลางในการบันทึกภาพจำลองให้ปรากฏอยู่ได้อย่างคงทนถาวร
อริสโตเติล นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกเป็นผู้บันทึกหลักการแรกไว้เมื่อ 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งมีใจความว่า.. "ถ้าเราปล่อยให้ลำแสงผ่านเข้าไปทางรูเล็กๆ ในห้องมืด ถือกระดาษขาวให้ห่างจากรูรับแสงประมาณ 15 ซม. จะปรากฏภาพหัวกลับที่ไม่ค่อยชัดเจนนักบนกระดาษ"
ต่อมาจึงได้ใช้หลักการนี้ในการประดิษฐ์ "กล้องออบคิวรา" ซึ่งเป็นภาษาละติน หมายถึง "ห้องมืด" หรือที่ชาวไทยเรียกกันว่า "กล้องรูเข็ม" นั่นเอง
วิชาถ่ายภาพตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Photography" มาจากคำศัพท์ในภาษากรีก โดย "Phos = แสงสว่าง" และ "Graphein = เขียน" เมื่อนำมารวมกันจึงหมายถึง "เขียนด้วยแสงสว่าง แต่ในปัจจุบันนี้ หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการทำให้ภาพเกิดขึ้นโดยใช้แสงสว่างมากระทบกับวัสดุไวแสง และครอบคลุมไปถึงการถ่ายรูป การล้างฟิล์ม การอัดขยายภาพ และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน
กล่าวโดยสรุป วิชาการถ่ายรูปก็คือ "ความรู้ที่ว่าด้วยกระบวนแห่งการสร้างรูปโดยอาศัยแสงสว่างเข้าช่วย" นั่นเอง
สำหรับการถ่ายภาพในประเทศไทยนั้น ได้มีช่างถ่ายภาพคนแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ท่านสังฆราชฝรั่งเศส นามปาเลอปัว ส่วนช่างถ่ายภาพชาวไทยคนแรก คือ พระยากระสาปน์กิจโกศล หรือ นายโหมด ต้นตระกูลอมาตยกุล ซึ่งมีชื่อเสียงในการถ่ายภาพเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และช่างถ่ายภาพที่มีผลงานเก็บรักษาในหอสมุดแห่งชาติจำนวนมากจนถึงปัจจุบันนี้ คือ หลวงอัคนีนฤมิตร หรือ นายจิตร เป็นช่างหลวงในสมัยรัชการที่ 4 และ 5 ซึ่งมีผลงานภาพถ่ายบุคคลทุกชนชั้น และยังมีภาพถ่ายสถานที่ ตลอดจนภาพเหตุการณ์ต่างๆ อีกด้วย
ชนิดของกล้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น