I'M Zwei

I'M Zwei
Welcome To blogger of Zwei

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลักการทำงานของกล้องถ่ายภาพ

          หลักการทำงานของกล้องถ่ายภาพ คือ การที่แสงสะท้อนจากวัตถุเดินทางเป็นเส้นตรงผ่านช่องเล็กๆ ของกล่องสี่เหลี่ยม เกิดภาพของวัตถุบนฉากรองรับด้านตรงกันข้ามเป็นภาพหัวกลับ อันเป็นหลักการของการสร้างกล้องรูเข็มในสมัยโบราณ ปัจจุบัน กล้องถ่ายภาพได้พัฒนามาโดยลำดับ เช่น มีการนำเอาเลนส์นูนไปติดตั้งที่ช่องรับแสงที่มีขนาดเล็ก เพื่อช่วยรวมแสงให้เข้าไปในตัวกล้องให้มากขึ้น ทางด้านตรงกันข้ามของเลนส์เป็นตำแหน่งที่ตั้งวัสดุไวแสงหรือฟิล์ม สามารถปรับตัวเลนส์เพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจนบนฟิล์มได้ มีการติดตั้งไดอะแฟรมปรับให้เกิดช่องรับแสงขนาดต่างๆ รวมทั้งมีส่วนที่เรียกว่าชัตเตอร์ ทำหน้าที่ควบคุมเวลาในการเปิด-ปิด ม่าน เพื่อให้ปริมาณแสงตกกระทบกับฟิล์มตามความเหมาะสม และยังมีช่องเล็งภาพเพื่อช่วยในการจัดองค์ประกอบของภาพถ่ายให้เกิดความสวยงาม

หลักการทำงานของกล้องรูเข็ม



หลักการทำงานของกล้องถ่ายภาพ


           ส่วนประกอบและการทำงานของดวงตามนุษย์กับกล้องถ่ายภาพจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยมีส่วนสำคัญแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ
           1. ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดภาพ ทั้งดวงตาและกล้องถ่ายภาพจะมีส่วนที่เป็นเลนส์ ในดวงตาของมนุษย์ ก่อนที่แสงจะตกกระทบเลนส์ต้องผ่านชั้นของเยื่อที่เรียกว่าคอร์เนีย (Cornea) ทำหน้าที่ช่วยเลนส์ในการหักเหแสงให้ภาพตกลงบนจอตาพอดี เลนส์ของกล้องถ่ายภาพมีระบบกลไก เปิด-ปิด ให้แสงผ่านเข้าไปยังแากหลังควบคุมเวลาด้วยชัตเตอร์ (Shutter) ส่วนดวงตาควบคุมด้วยหนังตา (Eyelid) ในส่วนหนึ่งของเลนส์ถ่ายภาพจะมีไดอะแฟรม (Diaphragm) สามารถปรับให้เกิดช่องรับแสง (Aperture) ขนาดต่างๆ เช่นเดียวกับดวงตาจะมีส่วนที่เรียกว่าม่านตา (Iris) ตรงกลางของม่านตาจะมีช่องกลมเรียกรูม่านตาหรือพิวพิล (Pupil) เป็นทางให้แสงผ่าน สามารถปรับให้มีขนาดต่างๆ กันโดยอัตโนมัติ เช่น ในที่ๆ มีแสงสว่างมากรูม่านตามจะปรับให้มีขนาดเล้ก ส่วนในที่ๆ มีแสงสลัวๆ รูม่านตาจะปรับให้มีขนาดกว้างขึ้น
            2. ส่วนที่ไวแสง ได้แก่ ส่วนที่เป็นฉากหลังในกล้องถ่ายภาพจะเป็นตำแหน่งที่ตั้งวัสดุไวแสง ได้แก่ ฟิล์มส่วนในดวงตา ได้แก่ จอตาเป็นฉากรับภาพ เรียกว่า เรตินา (Retina) ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานประสาท ประกอบด้วยเส้นประสาทไวต่อแสงและเชื่อมโยงไปยังส่วนที่ทำหน้าที่ในการรับความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็น ทำให้ทราบถึงรูปร่าง ขนาด ลักษณะของพื้นผิว 





ส่วนประกอบของดวงตามนุษย์

ส่วนประกอบของกล้องถ่ายภาพ

          ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูปกล้องถ่ายรูปที่นิยมมากในปัจจุบัน แม้จะมีความสามารถ และคุณลักษณะแตกต่างกันบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบ คล้ายคลึงกันคือ
          1. ตัวกล้อง (Body) ทำหน้าที่เป็นห้องมืด ป้องกันแสงภายนอกเข้าไปถูกฟิล์มที่บรรจุอยู่ภายในและเป็นที่ยึดส่วนประกอบ ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยในการถ่ายรูป
          2. เลนส์ (Lens) ทำหน้าที่รับแสงสะท้อนจากวัตถุ ส่งไปยังฟิล์มที่บรรจุอยู่ในตัวกล้องฟิล์มจะบึนทึกภาพเอาไว้ กล้องบางชนิดสามารถถอด เปลี่ยนเลนส์ได้ตามความต้องการ เช่น กล้องประเภท SLR (Single len Reflex) หรือเรียกว่ากล้องสะท้อนเลนส์เดี่ยว เลนส์จะผนึกอยู่ข้างหน้าตัวกล้อง ซึ่งมีขนาด ความยาวโฟกัสแตกต่างกัน เช่น 50 มม . 35 มม . 105 มม . เป็นต้น

          3. ช่องมองภาพ (View Finder) ปกติช่องมองภาพจะอยู่ด้านหลังของตัวกล้องเป็นจอมองภาพ เพื่อช่วยในการประกอบ และจัดองค์ประกอบของภาพ ให้มีความสวยงามตามหลักของศิลปะการถ่ายรูป
          4. ชัตเตอร์ (Shutter) ทำหน้าที่ควบคุมเวลาฉายแสง (Exposure Time) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความไวของชัดเตอร์ (Shutter Speed)
          5. แผ่นไดอะแฟรม (Diaphram) ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณความเข้มของการส่องสว่างของแสงที่ตกลงบนแผ่นฟิล์ม มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะบาง ๆ หลาย ๆ แผ่นซ้อนเหลี่ยมกันอยู่
          6. รูรับแสง (Aperture) เป็นรูเปิดของแผ่นไดอะแฟรมให้มีขนาดต่าง ๆ ตามต้องการ เช่น เมื่อต้องการให้แสงเข้ามากก็เปิดรูรับแสงให้มีขนาดใหญ่ และทางตรงกันข้าม ถ้าต้องการปริมาณแสงเข้าไปถูกฟิล์มน้อยก็เปิดรูให้เล็กลง การเปิดขนาดของรูรับแสงแตกต่างกันนี้มีตัวเลขกำหนดเอาไว้ ซึ่งตัวเลขนี้จะเป็นวงแหวน ติดอยู่ที่ตัวเลนส์เรียกตัวเลขต่าง ๆ ว่าเอฟสตอป (F-Stop) หรือ เอฟนัมเบอร์ (F-Number) นอกจากส่วนประกอบที่สำคัญ ๆ ของกล้องถ่ายรูปดังกล่าวแล้ว ผู้ใช้ควรจะศึกษาปุ่มปรับและควบคุมต่าง ๆ ที่อยู่บนกล้องถ่ายรูป กล้องทั่ว ๆ ไปจะมีปุ่มควบคุมดังนี้คือ
          นอกจากส่วนประกอบที่สำคัญ ๆ ของกล้องถ่ายรูปดังกล่าวแล้ว ผู้ใช้ควรจะศึกษาปุ่มปรับและควบคุมต่าง ๆ ที่อยู่บนกล้องถ่ายรูป กล้องทั่ว ๆ ไปจะมีปุ่มควบคุมดังนี้คือ



มุมมองของการมองกล้อง


แนะนำส่วนประกอบของกล้องcannon


แนะนำส่วนประกอบของกล้อง Nikon

ชนิดของกล้องถ่ายรูป

บทความน่ารู้ : เรื่องชนิดของกล้องถ่ายรูป

          กล้องถ่ายรูป นับเป็นเครื่องมือสำคัญชิ้นหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมาจาก "กล้อง ออบสคูร่า" (Obscura) ที่มีลักษณะเป็นกล้องมืด (Dark room) และได้รับการพัฒนามาเรื่อยๆ โดยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ ซึ่งกล้องปัจจุบันนี้สามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ ดังนี้       
          1. กล้องบ๊อกซ์ (Box Camera)
          เป็นกล้องที่ไม่มีกลไกสลับซับซ้อน มีขนาดรูรับแสงคงที่ อาจเป็น 8 หรือ 11 อันใดอันหนึ่ง และมีความเร็วชัตเตอร์เดียวปกติประมาณ 1/60 กล้องชนิดนี้ให้ระยะชัดตั้งแต่ 6 ฟุตขึ้นไปจนถึงไกลที่สุด ขนาดของฟิล์มที่ใช้กับกล้องชนิดนี้อาจเป็นฟิล์มขนาด 120, 127 และ 620 บางชนิดอาจใช้ฟิล์มขนาด 126 ก็ได้ อย่างไรก็ตามกล้องชนิดนี้ถ่ายรูปได้ดีในสภาพที่มีแสงเพียงพอ

                                             กล้องบ๊อกซ์ (Box Camera)

          2. กล้องพับ (Folding Camera)          เป็นกล้องที่มีห้องมืดชนิดพับระหว่างตัวกล้องกับเลนส์ สามารถพับ เห็บ หรือยืดออกมาได้ นอกจากนั้นกล้องชนิดนี้ยังเพิ่มขนาดของรูรับแสง และสามารถปรับเปลี่ยนความเร็วของชัตเตอร์ได้หลายระดับมากยิ่งขึ้น และอาจใช้กับไฟแวบอีกด้วย ฟิล์มที่ใช้อาจมีขนาดต่างๆ เช่น 120, 127 และ 620 เป็นต้น
                                                      กล้องพับ (Folding Camera)


          3. กล้องรีเฟล็กซ์ (Reflex Camera)
          กล้องชนิดนี้แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

          3.1 แบบเลนส์คู่ (Twin Lens Reflex) บางครั้งอาจเรียกว่ากล้อง TLR ซึ่งเคยได้รับความนิยมมากในสมัยก่อน กล้องชนิดนี้มีเลนส์ 2 ตัว เลนส์ตัวบนทำหน้าที่สะท้อนภาพเข้าสู่ช่องมองภาพซึ่งมีกระจกเป็นตัวสะท้อน ทำให้ผู้ถ่ายรูมองเห็นวัตถุที่จะถ่ายได้ ส่วนเลนส์ตัวล่างทำหน้าที่รับแสง เพื่อส่องผ่านไปยังฟิล์ม กล้องรีเฟล็กซ์เลนส์คู่นี้ได้รวมเอาข้อดีของกล้องใหญ่ (View Camera) และกล้องเรนจ์ไฟเดอร์ (Range finder) เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะสามารถมองภาพจากข้างบนกล้องได้ โดยลดกล้องให้ต่ำลง แล้วมองภาพจากช่องมองได้สะดวกสบาย อย่างไรก็ตามกล้องชนิดนี้ก็มีข้อเสีย เนื่องจากใช้เลนส์ 2 ตัว ตั้งอยู่ในแนวดิ่งซึ่งกันและกัน ดังนั้นภาพที่มองเห็นจากเลนส์ตัวบน อาจจะไม่เหมือนกันกับภาพที่ถ่าย ซึ่งเรียกว่าเกิดอาการผิดเพี้ยนจากการตัดส่วนของภาพ (Parallax) ยิ่งเป็นการถ่ายรูปใกล้ๆ บางส่วนของภาพจะถูกตัดออกไป แม้ว่าเวลามองที่ช่องมองภาพนั้นเป็นภาพสมบูรณ์ก็ตาม อีกประการหนึ่งภาพที่เห็นที่ช่องมองภาพจะกลับซ้ายเป็นขวาเสมอ นอกจากนี้ กล้องชนิดนี้ส่วนมากจะเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้ จึงเป็นข้อเสียเปรียบเช่นกัน ฟิล์มที่ใช้อาจมีขนาด 120, 220 หรือ 35 มม. ก็ได้
                                                     
                                                        แบบเลนส์คู่ (Twin Lens Reflex)


          3.2 แบบเลนส์เดี่ยว (Single Len Reflex) หรือเรียกว่า SLR ซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะสะดวกและง่ายต่อการประกอบภาพ นอกจากนั้น ยังมีอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ร่วมกันได้มากมาย กล้องชนิดนี้สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ และไม่มีอาการผิดเพี้ยนจากการตัดส่วนภาพ (Parallax) เลย เพราะใช้เลนส์ตัวเดียวทำหน้าที่ทั้งมองภาพ หาระยะชัด และบันทึกภาพ อย่างไรก็ตามกล้องชนิดนี้ก็มีข้อเสียเปรียบ คือ อาจจะชำรุดได้ง่ายเพราะการกระดกขึ้นลง ของกระจก 45 องศา อีกประการหนึ่ง เมื่อกดชัตเตอร์จะมีเสียงดังมาก อาจทำให้เกิดการรบกวนได้ โดยเฉพาะถ้านำไปถ่ายรูปสัตว์ อาจทำให้สัตรว์ตื่นตระหนกตกใจได้ นอกจากนั้นเมื่อถ่ายรูปในที่ๆ มีแสงน้อย อาจทำให้การมองภาพที่ช่องมองไม่ชัดเจน เพราะมีการสะท้อนหลายครั้งที่กระจกและปริซึมภายในตัวกล้อง ทำให้ความเข้มของแสงลดลงไปได้ กล้องรีเฟลกซ์เลนส์เดี่ยวส่วนมากใช้ระบบชัตเตอร์ม่านจึงทำให้ใช้ความเร็วของ ชัตเตอร์ได้สูงมาก การเปลี่ยนขนาดของรูรับแสงก็มีมาก ฟิล์มที่ใช้กับกล้องชนิดนี้มีเบอร์ 135, 126, 120, 220 และ 110 ซึ่งสนองความต้องการของผู้ใช้ได้มาก          


                                                  แบบเลนส์เดี่ยว (Single Len Reflex)


          4. กล้องเล็ก (Miniature Camera)
          กล้องเล็ก (Miniature Camera) หรือ กล้องวิวไฟเดอร์ (View finder) บางคนก็เรียกว่า เรนจ์ไฟเดอร์ (Range Finder) หรือเรียกว่า กล้อง 35 มม. มาตรฐาน (35 mm. Standard Camera) เพราะใช้กับฟิล์มขนาดมาตรฐาน คือ 35 มม. กล้องชนิดนี้เหมาะที่สุดสำหรับนักถ่ายภาพสมัครเล่น เพราะออกแบบเพื่อให้สะดวกสบายในการจับถือ มีทั้งชนิดที่ต้องปรับแต่ง และไม่ปรับแต่งความชัด ความเร็วชัดเตอร์และขนาดของรูรับแสง กล้องชนิดนี้มีลักษณะกระทัดรัด ใช้ง่าย ราคาไม่แพงนัก อย่างไรก็ตามก็มีข้อเสียคือภาพถ่ายอาจเกิดอาการผิดเพี้ยนจากการตัดส่วนของ ภาพ (Parallax) ได้ถ้าถ่ายรูปใกล้กว่า 3 ฟุต เนื่องจากหน้าต่างหาระยะชัดของภาพตั้งอยู่คนละแห่งกับเลนส์ คือจะอยู่เหนือเลนส์ถ่ายรูปเล็กน้อย ในปัจจุบันกล้องชนิดนี้ได้พัฒนาให้เปลี่ยนเลนส์ได้ และมีอุปกรณ์อื่นๆ ประกอบมากมายจึงทำให้มีผู้นิยมกล้องชนิดนี้อยู่พอสมควร
                                                     กล้องเล็ก (Miniature Camera)

          5. กล้องเล็กพิเศษ (Ultra-Miniature Camera)
          กล้องเล็กพิเศษ (Ultra-Miniature Camera) หรือกล้องนักสืบ เป็นกล้องที่มีน้ำหนักเบามาก กะทัดรัด มีขนาดเล็ก สามารถพกติดตัวไปได้สะดวกสบาย และสามารถแอบซ่อนเพื่อบันทึกภาพในกรณีที่ไม่ให้ผู้ถูกถ่ายรูปสังเกตได้ กล้องชนิดนี้ปรับหน้ากล้องโดยอัตโนมัติ มีไฟแวบพร้อมในตัวกล้อง ใช้ฟิล์ม 16 มม. และกลักเบอร์ 110
                                               กล้องเล็กพิเศษ (Ultra-Miniature Camera)
          6. กล้องหนังสือพิมพ์ (Press Camera)          เป็นกล้องที่ออกแบบใช้กับงานด้านหนังสือพิมพ์ ตัวกล้องมีขนาดใหญ่ ส่วนประกอบของกล้องคล้ายคลึงกับกล้องพับ คือมีเบลโล (Bellow) สามารถปรับยืดย่นย่อได้ตามต้องการ ปกติกล้องชนิดนี้ใช้กับฟิล์ม 120 หรือฟิล์มแผ่นขนาด 2 1/4 x 3 1/4 นิ้ว และ 4 x 5 เนื่องจากกล้องมีน้ำหนักมาก ดังนั้น นักข่าวหนังสือพิมพ์และนิตยสารในปัจจุบันจึงหันมาใช้กล้องแบบสะท้อนเลนส์ เดี่ยวแทน

                                                 กล้องหนังสือพิมพ์ (Press Camera)


          7. กล้องใหญ่ (Studio Camera)
          บางครั้งเรียกว่ากล้องวิว (View Camera) เป็นกล้องที่นิยมใช้ตามร้านถ่ายรูปเพื่อธุรกิจการค้า กล้องชนิดนี้มีขนาดใหญ่โตมีน้ำหนักมากจึงไม่เหมาะที่จะนำไปใช้งานภายนอกห้อง ถ่ายรูป และในการใช้กล้องจำเป็นต้องมีขาตั้ง (Tripod) รองรับตัวกล้อง ฟิล์มที่ใช้กับกล้องชนิดนี้เป็นฟิล์มแผ่นมีขนาดต่างๆ เช่น 2 x 3 นิ้ว 5 x 7 นิ้ว 8 x 10 นิ้ว และ 11 x 14 นิ้ว เมื่อถ่ายรูปเสร็จสามารถถอดฟิล์มออกได้ทันที ข้อดีของกล้องชนิดนี้ คือ จะไม่เกิดอาการผิดเพี้ยนจากการตัดส่วนของภาพ (Parallax) และยังสามารถมองเห็นภาพที่ช่องมองได้อย่างดี เพราะที่มองมีขนาดใหญ่ ทำให้เห็นรายละเอียดของภาพที่จะบันทึกนั้นได้ดี เนื่องจากมีกระจกขยายอันเป็นส่วนประกอบในช่องมองภาพ นอกจากนั้นยังสามารถปรับมุมของภาพได้ตามต้องการ อย่างไรก็ตามกล้องชนิดนี้ก็มีข้อเสียเปรียบ คือ ภาพที่เกิดขึ้นที่ช่องมองภาพนั้นจะมีลักษณะหัวกลับและกลับซ้ายขวา อีกทั้งภาพจะไม่ชัดเจน ดังนั้นผู้ถ่ายรูปต้องใช้ผ้าสีดำคลุมข้างหลังกล้องบนช่องมองภาพ และคลุมศีรษะผู้ใช้ให้สามารถมองภาพได้ชัดเจนในขณะปรับความคมชัด
 
                                                          กล้องใหญ่ (Studio Camera)


          8. กล้องถ่ายรูปที่สร้างขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ
          8.1 กล้องถ่ายรูปแบบสเตอริโอ (Stereo Camera) หรือเรียกว่ากล้องถ่ายรูปสามมิติ (Three Dimension Camera) เป็นกล้องที่ออกแบบมาเพื่อถ่ายรูปสามมิติ ในตัวกล้องจะมีเลนส์ 2 ตัว เมื่อถ่ายรูปจะได้ 2 ภาพ ซึ่งภาพแรกเป็นภาพที่ตาข้างขวามองเห็น และภาพที่ 2 เป็นภาพที่ตาข้างซ้ายมองเห็น ดังนั้นภาพทั้งสองจึงมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ในเวลาที่ดูภาพลักษณะนี้ ต้องใช้เครื่องดูภาพพิเศษ จึงจะทำให้เห็นภาพ 3 มิติได้อย่างชัดเจน
 
กล้องถ่ายรูปแบบสเตอริโอ (Stereo Camera)


          8.2 กล้องถ่ายรูปโพลารอยด์ (Polaroid Camera) เป็นกล้องถ่ายรูปที่เมื่อถ่ายเสร็จจะได้ภาพทันที เพราะมีกระบวนการล้างอัดอยู่ในตัวฟิล์ม สร้างภาพภายในเวลาเพียง 2-3 นาทีเท่านั้น ภาพที่จะเป็นภาพโฟสิติฟ (Positive) กล้องชนิดนี้เหมาะในการใช้งานที่ต้องการความรวดเร็วรีบด่วน และเพื่องานบางอย่างเท่านั้น ข้อเสียก็คือฟิล์มที่ใช้กับกล้องชนิดนี้มีราคาค่อนข้างสูง และภาพที่ได้ไม่มีความคงทนเก็บไว้ได้ไม่นานเหมือนขบวนการถ่ายรูปทั่วๆ ไป
                                             กล้องถ่ายรูปโพลารอยด์ (Polaroid Camera)

          8.3 กล้องถ่ายรูปทางอากาศ (Aerial Camera) เป็นกล้องที่ออกแบบมาใช้งานเฉพาะการถ่ายรูปทางอากาศเท่านั้น มีน้ำหนักมาก ใช้ติดตั้งกับเครื่องบิน หรือยานอวกาศเพื่อการถ่ายรูปสำรวจหรือทำแผนที่ต่างๆ ส่วนประกอบของกล้องชนิดนี้ถูกออกแบบพิเศษมาเพื่อใช้งานเฉพาะ จึงไม่สามารถที่จะนำมาใช้ในงานทั่วๆ ไปได้

                                                 กล้องถ่ายรูปทางอากาศ (Aerial Camera)


          8.4 กล้องถ่ายรูปใต้น้ำ (Under Water Camera) เป็นกล้องที่ออกแบบมาเพื่อใช้ถ่ายรูปใต้น้ำโดยเฉพาะ ตัวกล้องบรรจุอยู่ในกล่องที่แข็งแรงกันน้ำเข้า และทนต่อแรงดันของน้ำ การควบคุมเพื่อให้กล้องทำงานนั้นมีปุ่มควบคุมอยู่ภายนอกกล่องบรรจุ

กล้องถ่ายรูปใต้น้ำ (Under Water Camera)
          8.5 กล้องถ่ายรูปจากกล้องจุลทรรศน์ (Photomicrographic Camera) เป็นกล้องที่ออกแบบพิเศษ สำหรับงานที่ต้องการถ่ายรูปขยายตั้งแต่ 30:1 ถึง 1000:1 ตัวกล้องจะต่อเข้ากับกล้องจุลทรรศน์ สามารถถ่ายรูปได้ตามต้องการ

กล้องถ่ายรูปจากกล้องจุลทรรศน์ (Photomicrographic Camera)
          8.6 กล้องรีโปร (Repro-Camera) เป็นกล้องที่ออกแบบเพื่อใช้กับงานการพิมพ์เพื่อถ่ายรูปลายเส้น ภาพแยกสีและพวกฮาลัฟโทนต่างๆ ซึ่งวัสดุต้นแบบอาจเป็นพวกภาพถ่ายหรือภาพวาดก็ได้หากแต่ต้องมีลักษณะเป็น แผ่นเรียบ

                                                      กล้องรีโปร (Repro-Camera)


          8.7 กล้องถ่ายรูปความไวสูง (High Speed Camera) เป็นกล้องที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับงานถ่ายรูปนิ่ง ที่ต้องการถ่ายวัตถุที่เคลื่อนที่อย่างเร็วมาก ซึ่งกล้องธรรมดาไม่สามารถถ่ายได้ กล้องชนิดนี้มีความไวของชัตเตอร์สูงมาก อาจใช้ถ่ายรูปลูกปืนหรือลูกธนูที่กำลังเข้าหาเป้าได้

                                                   กล้องถ่ายรูปความไวสูง (High Speed Camera)


          8.8 กล้องถ่ายรูปสำหรับผลิตภาพขนาดเล็ก (Microphotographic Camera) เป็นกล้องถ่ายรูปที่ออกแบบมาเพื่อใช้ถ่ายรูปขนาดไม่เล็กกว่า 1/10 ของวัตถุต้นฉบับ ดังนั้นจึงเหมาะที่จะนำมาถ่ายรูปวาดวงจรอิเล็กโทรนิคและวงจรไฟฟ้าต่าง ๆ

กล้องถ่ายรูปสำหรับผลิตภาพขนาดเล็ก (Microphotographic Camera)

         8.9 กล้องพาโนรามา (Panoramic Camera) เป็นกล้องที่ออกแบบเพื่อถ่ายรูปที่มีมุมของวิวกว้างประมาณเกือบ 140 องศา โดยที่สัดส่วนของภาพที่ได้ไม่ผิดเพี้ยนเหมือนการใช้เลนส์ตาปลา กล้องชนิดนี้นำมาใช้ถ่ายรูปหมู่ที่มีจำนวนคนมากๆ นั่งเรียงแถวกัน ซึ่งกล้องธรรมดาไม่สามารถบันทึกภาพให้มีสัดส่วนเหมือนจริงได้ การทำงานของกล้องชนิดนี้มีเลนส์ที่หมุนรอบแนวดิ่ง โดยแสงจะผ่านเลนส์ แล้วหักเหผ่านช่องแคบที่หมุนตามเลนส์ไปตกลงบนฟิล์มที่มีลักษณะโค้งอยู่ด้าน หลังของกล้อง ทำให้การบันทึกภาพออกมาดูเป็นภาพที่มีลักษณะยาวในแนวระดับ
                                                       กล้องพาโนรามา (Panoramic Camera)

          8.10 กล้องถ่ายรูปแบบจาน (Disk) เป็นกล้องถ่ายรูปที่บันทึกภาพลงบนแผ่นแม่เหล็กแทนการบันทึกลงบนฟิล์มถ่ายรูป เมื่อต้องการดูภาพก็สอดแผ่นแม่เหล็กลงในเครื่อง จะทำให้เห็นภาพบนจอโทรทัศน์ ซึ่งเป็นภาพนิ่งและสามารถพิมพ์เป็นแผ่นได้ นอกจากนี้กล้องชนิดนี้ยังนำไปใช้กับการส่งภาพถ่ายเหตุการณ์ จากจุดหนึ่งเข้ายังโรงพิมพ์เพื่อพิมพ์ภาพข่าวลงในหนังสือพิมพ์ โดยส่งภาพไปตามสายโทรศัพท์ได้ ในปัจจุบันนี้ผู้ผลิตได้คิดค้นและออกแบบให้กล้องถ่ายรูปมีลักษณะการใช้ง่าย สะดวกสบาย และใช้ได้อย่างรวดเร็ว โดยผู้ใช้อาจไม่ต้องมีความรู้ในด้านการถ่ายภาพมากมาย ก็สามารถใช้กล้องได้อย่างดีบันทึกภาพได้ตามต้องการและภาพมีคุณภาพ


                                                กล้องถ่ายรูปแบบจาน (Disk Camera)


 9. กล้องดิจิตอล (Digital camera) 

       เมื่อเทคโนโลยีการถ่ายภาพได้พัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง พร้อมกันนั้นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ก็มีความก้าวหน้าเช่นกัน จึงได้มีผู้คิดค้นกล้องถ่ายภาพที่สามารถใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า กล้องดิจิตอล (Digital Camera) ที่ถ่ายภาพโดยไม่ต้องใช้ฟิล์ม ไม่ต้องผ่านกระบวนการล้าง อัด ขยายภาพ การบันทึกภาพจะบันทึกในรูปแบบของหน่วยความจำแบบดิจิตอล หรือบันทึกลงในแผ่นดิสก์เก็ต หรือ ซีดีรอม บางรุ่นสามารถบันทึกภาพได้ละเอียดถึง 6 ล้าน Pixel ช่องมองภาพจะเป็นจอภาพแบบ LCD หรือจอคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก สามารถพิมพ์ภาพออกทางเครื่องพิมพ์ (Printer) สามารถผลิตได้ทั้งภาพสี ภาพขาว ดำ สไลด์สี บางรุ่นสามารถบันทึกวิดีทัศน์ (Video) ได้ในตัว และสามารถแสดงผลทางจอภาพ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ตกแต่งและสร้างสรรค์ภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก เช่น Adobe PhotoShop สามารถเผยแพร่ภาพทางอินเทอร์เน็ต หรือส่งทาง Email ได้ ปัจจุบันกล้องชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก บริษัทผลิตกล้องถ่ายภาพหลายบริษัทได้หันมาพัฒนาเทคโนโลยีกล้องดิจิตอลมากขึ้น


                                                    กล้องดิจิตอล (Digital Camera)


          ดังนั้นกล้องจึงทำงานแบบอัตโนมัติในการปรับหน้ากล้องปรับระดับชัตเตอร์ตาม สภาพของแสงที่ถ่าย เช่น กล้องโกดัก อินสตาเมติด (Kodak Instamatic) กล้องอักฟา แรบปิด (Agfa Rapid) Argus, Minox BL, Yashica Atoron และอีกหลายๆ ยี่ห้อให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้ถ่ายรูปตามความต้องการ กล้องอัตโนมัติบางชนิดสามารถบอกวัน เดือน ปี หรือแม้กระทั่งเวลาในการบันทึกภาพนั้นๆ ด้วย กล้องชนิดนี้เหมาะมากสำหรับการนำมาใช้ เพื่อเก็บข้อมูลทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ นอกจากจะบอกรายละเอียดต่างๆ ดังกล่าวแล้วยังใช้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ถ้าแสงไม่พอที่จะพอที่จะถ่ายรูปก็สามารถเปิดไฟแฟลชได้โดยอัตโนมัติอีกด้วย
          ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีประเภทชิป (chip) มาใช้แทนฟิล์มถ่ายภาพและได้ภาพประเภทดิจิตอล (Digital) ที่สามารถโหลด (load) เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วพิมพ์ (print) หรือนำไปใช้กับงานสื่อประสม (Multimedia) อื่นๆ ได้



ขอบคุณที่มา : wikipedia.org

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง

องค์ประกอบต่างๆ ที่ควรรู้เพื่อการใช้กล้อง






กล้อง...เป็นหัวใจของการถ่ายภาพ ดังนั้นถ้าเราต้องการถ่ายภาพให้ภาพที่ได้ออกมามีสีสรรสวยงาม เราจะต้องเรียนรู้วิธีการใช้กล้องให้ถูกต้อง หวังว่าเพื่อนๆ คงมีกล้องแล้วคนละ 1 ตัว ต่างคนต่างยี่ห้อ แต่ว่าฟังชั่นการทำงานหลักๆ เหมือนกันทุกประการ ผมขอยกตัวอย่างจากกล้อง SLR แบบแมนนวล ที่ค่อนข้างจะมีปุ่มปรับที่เด่นชัด ส่วนกล้องออโตโฟกัสถึงแม้จะมีรูปทรงที่แตกต่างกันไป ปุ่มปรับต่างๆ คล้ายปุ่มเกมส์กด แต่ผลของการปรับก็เหมือนกัน เปรียบเทียบได้กับ TV รุ่นก่อนๆ ที่เปลี่ยนช่องโดยใช้วิธีการหมุนปุ่มบิด เวลาจะเปลี่ยนช่องกันทีก็ต้องหมุนปุ่มลูกบิดดังดังแป๊กๆๆ เพื่อเปลี่ยนช่อง ส่วน TV รุ่นใหม่ใช้วิธีการปรับเปลี่ยนช่องโดยการกดปุ่มหรือไม่ก็ใช้กดปุ่มรีโมท ไม่ว่าจะเปลี่ยนช่องด้วยวิธีไหนผลที่ได้ออกมาก็เหมือนกันคือได้ดูในช่องที่ต้องการจะดู กล้องก็เหมือนกันมีการออกแบบให้เข้ายุคเข้าสมัยแต่จุดสุดท้ายก็ปรับไปค่าๆ เดียวกันซึ่งให้ผลการถ่ายภาพออกมาสวยงามอย่างที่ตาเห็น
ภาพเกิดจากแสงที่ตกกระทบลงบนแผ่นฟิล์ม แล้วเกิดเป็นภาพต่างๆ ตามความเข้าของสี ถ้าหากแสงเข้ามากเกินไป ภาพก็จะสว่างมากจะมองไม่เห็นรายละเอียด เราเรียกว่าภาพโอเวอร์ ( over expossure )

  ตัวอย่างภาพ over ( แสงมากเกินไป )

                                       

          ถ้าแสงน้อยเกินไปภาพก็จะมืดสีไม่สวยงามดำๆ ไม่สวย เราเรียกว่าภาพอันเดอร์  ( under expossure )



   ตัวอย่างภาพ under ( แสงน้อยเกินไป )



 

ตัวอย่างภาพ แสงพอดี

กล้องมีการปรับปริมาณแสงที่จะตกกระทบลงบนแผ่นฟิล์มได้ 2 วิธีคือ ปรับความเร็วชัตเตอร์ และ ปรับขนาดรูรับแสง
ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed,Exposure Time)
   
ขั้น ตอนหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการถ่ายภาพ คือ การควบคุมความสว่างของภาพ ภาพที่ดีควรมีความสว่างเหมาะสม ไม่สว่างจ้าหรือมืดจนเกินไปจนภาพเสียความหมายของภาพไป การควบคุมความสว่างของภาพในกล้องดิจิตอลจะมีจุดที่ควบคุมหลักๆ อยู่ 3 ที่คือ ความไวแสงของกล้องความเร็วชัตเตอร์ (เวลาเปิดรับแสงซึ่งอยู่ที่ตัวกล้อง และขนาดช่องรับแสงซึ่งอยู่ที่ตัวเลนส์
เวลาเปิดรับแสง คือ เวลาที่แสงตกลงบนอิมเมจเซ็นเซอร์ หรือเวลาที่อิมเมจเซ็นเซอร์อ่านสัญญาณภาพ กล้องดิจิตอลแบบสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (SLR) มีชัตเตอร์หน้า Image Sensor ทำหน้าที่ควบคุมเวลาในการเปิดรับแสง เวลาที่ชัตเตอร์เปิดเรียกว่าความเร็วชัตเตอร์(Shutter Speed) ส่วนเวลาที่แสงตกลงบนอิมเมจเซ็นเซอร์เรียกว่า (Exposure Time) ซึ่งปกติทั้ง 2 ค่านี้จะเท่ากัน กล้องดิจิตอลแบบคอมแพครวมทั้งกล้องดิจิตอลที่ถ่ายภาพวีดีโอ หรือดูภาพที่กำลังจะถ่ายทางจอ LCD ด้านหลังกล้องได้ จะไม่มีชัตเตอร์หน้า Image Sensor เวลาเปิดรับแสงจะควบคุมโดยเวลาการอ่านข้อมูลของ Image Sensor ซึ่งถูกควบคุมโดย Processor ในตัวกล้องอีกทีหนึ่ง

เวลาเปิดรับแสงจะมีผลต่อภาพ 2 ประการ คือ
    1. ความมืดสว่างของภาพ เวลาเปิดรับแสงสั้น แสงจะเข้าน้อย ทำให้ภาพมืดกว่าเวลาเปิดรับแสงนาน เช่น ความเร็วชัตเตอร์ 1 วินาที แสงจะเข้ามากกว่าความเร็วชัตเตอร์ 1/15 วินาที หากค่าการปรับตั้งทุกอย่างเท่ากัน (ความไวแสง ช่องรับแสง) ความเร็วชัตเตอร์ 1 วินาทีจะให้ภาพที่สว่างกว่าความเร็วชัตเตอร์ 1/15 วินาที
    2. การเคลื่อนไหวของภาพ หากวัตถุในภาพมีการเคลื่อนไหว (จากการเคลื่อนที่ของวัตถุ หรือการเคลื่อนที่ของกล้อง) เวลาเปิดรับแสงนานจะทำให้ภาพเกิดการสั่นไหว หรือพร่ามัวได้มากกว่าเวลาเปิดรับแสงสั้น
    เวลา เปิดรับแสงจะกำหนดเป็นค่าวินาทีแบบจำนวนเต็มหรือเศษส่วน แสดงอยู่ที่วงแหวนปรับความเร็วชัตเตอร์ ในจอแสดงข้อมูลที่ช่องมองภาพ หรือที่จอ LCD ด้านหลังตัวกล้อง แต่กล้องบางตัวก็ไม่แสดงความเร็วชัตเตอร์ให้ทราบ


ความเร็วชัตเตอร์  
          คือความเร็วในการเปิด – ปิด ช่องรับแสง ตัวที่ทำหน้าที่ในการเปิดและปิดกั้นแสงที่จะเข้าไปโดนฟิล์มคือม่านชัตเตอร์ ลองเปิดฝาหลังกล้องออก ( เหมือนเวลาใส่ฟิล์ม ) แล้วลองกดปุ่มถ่ายภาพดู จะเห็นแผ่นบางๆ เคลื่อนที่ขึ้นลงอย่างรวดเร็วจนมองไม่ทัน ตัวที่เคลื่อนที่ขึ้นลงเพื่อเปิดปิดกั้นแสงนี้คือม่านชัตเตอร์ ระยะเวลาสั้นๆ ในการเปิด-ปิดนั้น จึงเรียกว่าความเร็วชัตเตอร์ หรือ Speed ในภาษากล้องเป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึง ความเร็วในการเปิดปิดแสงของม่านชัตเตอร์ Speed มีตั้งแต่ช้าจนถึงเร็ว เช่นปล่อยให้แสงเข้ากล้องเป็นเวลา 1 วินาที ,ครึ่งวินาทีหรือ ½ วินาที ,ครึ่งของครึ่งวินาทีหรือ ¼ วินาที , 1/8 วินาที ->ไปจนถึง 1/500 วินาที , 1/1000 วินาที , 1/2000 วินาที , 1/4000 วินาที และสูงสุดในปัจจุบันที่ 1/8000 วินาที หรือเข้าใจง่ายๆ ว่า ถ้าเราแบ่งช่วงเวลา 1 วินาทีออกเป็น 8000 ส่วน ความเร็วขนาดนี้ไวมากเพียงเศษของ 1 ใน 8000 ส่วนนั้น เร็วจนสามารถหยุดหัวลูกปืนที่ยิงออกไปจากกระบอกปืนได้ ทั้งๆ ที่ตาเราไม่สามารถมองเห็นได้ ( ถ้าคงเห็นได้หากใครยิงเราก็คงหลบทันซินะ ) วิธีการเขียนแบบเศษส่วนนี้ดูแล้วก็ชวนเวียนหัวดังนั้นจึงเขียนใหม่ให้เข้าใจง่ายๆ และใช้พื้นที่เขียนน้อย คือ 1, 2, 4, 8, 15, 30, 60, 125, 250 , 500, 1000, 2000, 4000, 8000 และ B ( นานเท่าที่ใจเราต้องการ ) ดังนั้นเมื่อเห็นตัวเลขมากขึ้นอย่าเข้าใจว่ายิ่งช้าลง เพราะตัวเลขนั้นย่อมาจากเศษส่วนใน 1 วินาที บางรุ่นก็สามารถเปิดได้นานถึง 30 วินาที จนเร็วที่สุดถึง 1/8000 วินาที ปกติก็จะอยู่ระหว่าง 1-2000 วินาที ซึ่งเร็วเพียงพอแล้วสำหรับการถ่ายภาพแบบธรรมดา

การปรับความเร็วชัตเตอร์ กล้อง SLR แมนนวล ปรับโดยการหมุนแป้นปรับบนตัวกล้อง
***หมายเหตุ ตัวเลขจะเพิ่มขึ้นเป็นขั้นละ 2 เท่า ระว่าง 1 ขั้นที่เพิ่มขึ้นเราเรียกว่า 1 stop


ม่านชัตเตอร์เปิด-ปิดช้าหรือเร็วมีผลอย่างไรต่อปริมาณแสง พูดถึงแสงอาจจะทำให้เข้าใจยากเพราะมันไม่มีปริมาณให้เราสัมผัสได้ ขอยกตัวอย่างที่เข้าใจง่ายกว่าคือ น้ำ ถ้าเราใช้สายยางต่อจากก๊อกน้ำแล้วรองใส่ถัง ถ้าเราเปิดก๊อกนาน 1 วินาที ย่อมมีน้ำน้อยกว่าการเปิดก๊อกนาน 30 วินาที แสงก็เช่นเดียวกัน ถ้าเปิดให้แสงผ่านนานๆ แสงก็จะไปสะสมบนแผ่นฟิล์มมาก
ถ้าหากเราต้องการปริมาณน้ำมากๆ แต่ก๊อกน้ำเราเล็ก เราก็คงต้องเสียเวลารอนานจนกว่าน้ำจะมีปริมาณตามที่เราต้องการ แล้วยิ่งถูกกำหนดไว้ด้วยว่าห้ามเปิดนานเกินช่วงเวลาที่กำหนด เราจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้น้ำมีปริมาณเพียงพอในเวลาที่จำกัดไว้ นั่นก็คือเปลี่ยนก๊อกน้ำให้ใหญ่ขึ้น ยิ่งใหญ่น้ำยิ่งไหลมากขึ้นเต็มถังเร็วขึ้น ขนาดของก๊อกก็เปรียบเสมือน ขนาดของรูรับแสง
รูรับแสง
ขนาดของช่องที่ปล่อยให้แสงผ่านเข้าไปในเลนส์เพื่อรอการเปิดม่านชัตเตอร์ปล่อยให้แสงตกลงบนแผ่นฟิล์ม คือ ขนาดรูรับแสง ตัวที่ทำหน้าที่ในการปรับขนาดความโตของรูที่แสงจะผ่านคือกลีบแผ่นโลหะในกระบอกเลนส์ มีลักษณะเป็นแผ่นพระจันทร์เสี้ยวหลายๆ แผ่นวางเหลื่อมล้ำกัน เมื่อเราปรับขนาดตัวเลขบนกระบอกเลนส์ ( เลนส์แมนนวล ไม่ใช่เลนส์ออโตโฟกัสนะ ) ก็จะทำให้ระบบกลไกลไปกดไปดันให้แผ่นที่ว่านั้นเปิดเป็นช่องเล็กๆ ทำให้แสงผ่านไปได้ ถ้าหากมีกล้องอยู่ในมือให้ลองเปิดฝาหลังออก แล้วปรับความชัตเตอร์ไปที่ B แล้วส่องกล้องไปยังพื้นที่สว่างๆ แล้วกดปุ่มถ่ายภาพ จะเห็นช่องรับแสงที่เราปรับไว้ ขนาดดูรับแสงมีขนาดต่างๆ ดังนี้คือ f 1.4 , 1.8 , 2.0 , 3.5, 4.5 , 5.6 , 8, 11, 16, 22 ตัวเลขดังกล่าวอาจจะทำให้สับสน ตัวเลขดังกว่ายิ่งมีค่ามากรูรับแสงยิ่งแคบ จากตัวเลขทั้งหมดนี้ f1.4 มีขนาดช่องรับแสงที่กว้างที่สุด และ f22 มีขนาดแคบที่สุด เพื่อทำความเข้าใจกับขนาดรูรับแสง ลองปรับขนาดรูรับแสงบนกระบอกเลนส์แล้วกดปุ่มถ่ายภาพดู จะเห็นขนาดของรูรับแสงที่มีขนาดแตกต่างกัน


ความเร็วชัตเตอร์ก็ต้องปรับ ขนาดรูรับแสงก็ต้องปรับ แล้วจะปรับกันอย่างไร เมื่อไรจะรู้ได้ว่าแสงพอดี อ่านแล้วชักเวียนหัว ไม่ยากเลยสำหรับการปรับค่าตัวแปรทั้งสองนี้ ตัวที่จะบอกเราได้ว่าปริมาณแสงพอดีหรือยังคือ เครื่องวัดแสงในตัวกล้อง บางรุ่นที่เก่าๆ จะเป็นเข็มเคลื่อนที่ขึ้นลง ไปทางบวกแปรว่าแสงมากไป ลงมาทางลบแปรว่าแสงน้อยไป ต้องปรับให้อยู่ระหว่างกลางพอดี บางรุ่นจะแสดงเป็นไปหรี่จะบอกปริมาณแสงด้วยความความอ่อนแก่ของสี จุดกลางสุดเป็นจุดที่แสงพอดี ขึ้นไปเป็นแสงมากไป ต่ำลงมาเป็นแสงน้อยไป ลองมองแล้วสังเกตแล้วจะรู้เอง สำหรับมือใหม่ที่ถ่ายด้วยมือควรปรับความเร็วชัตเตอร์ไว้ไม่ต่ำกว่า 60 ถ้าช้ากว่านี้ เวลาถ่ายแล้วมือไม่นิ่งอาจจะทำให้ภาพไหวได้ ถ้าจำเป็นต้องถ่ายด้วยความเร็วที่ต่ำกว่านี้ควรใช้ขาตั้งกล้อง
รู้การปรับทั้งสองอย่างไปแล้ว เราก็ยังไม่สามารถถ่ายรูปได้ ก่อนอื่นเราจะต้องใส่ฟิล์มและปรับตั้งค่าความไว้แสงฟิล์มเสียก่อน
การปรับค่าความไวแสงฟิล์ม ฟิล์มที่มีขายในท้องตลาดมีคุณสมบัติในรับการแสงแต่งต่างกันตามความเหมาะสมในการใช้งาน ค่าที่ต่างกันคือค่าความไว้แสง ดังนั้นเมื่อเราใส่เราฟิล์มเราจะต้องปรับตั้งค่าความไว้แสงของกล้องให้ตรงกับค่าความไวของฟิล์ม ถ้าตั้งค่าผิดไป กล้องก็จะวัดแสงผิด ฟิล์มในท้องตลาดจะมีค่าความไวแสงดังนี้ 50, 100, 200, 400, 800 …. ฟิล์มสีที่เราใช้ถ่ายภาพทั่วไปคือ ความไว 100 หรือ ISO100 เราก็ต้องปรับค่า ISO ของกล้องให้เป็น 100 โดยการปรับปุ่มเดียวกันกับปุ่มปรับความเร็วชัตเตอร์ แต่ต้องดึงปุ่มนั้นขึ้นมาหนึ่งจังหวะแล้วหมุนเอาตามความต้องการ แต่ถ้าหากเราไม่ดึงปุ่มที่ว่านั้นขึ้นมาก็จะกลายเป็นหมุนปรับเปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์




ก่อนถ่ายภาพแต่ละครั้งอย่าลืม ปรับความชัดของภาพด้วย โดยการหมุนที่กระบอกเลนส์ ของง่ายๆ ลองดูแล้วจะรู้ได้เอง
       บนกระบอกเลนส์จะมีวงแหวนที่หมุนได้อยู่ 3 วง ในสุดคือ หมุนปรับขนาดรูรับแสง  วงกลางคือซูมภาพให้ได้เล็กใหญ่ตามต้องการ  วงนอกสุดคือหมุนปรับความชัดของภาพ ตัวเลขสีขาวคือระยะห่างมีหน่วยเป็นเมตร สีเหลืองมีระยะห่างเป็น ฟุต ให้ผู้ถ่ายเลือกใช้เอาเอง

การ เลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ขึ้นกับความต้องการในการควบคุมการเคลื่อนไหวของ  วัตถุในภาพ และความสามารถในการถือกล้องให้นิ่ง ความเร็วชัตเตอร์มาตรฐานที่สามารถถือกล้องให้นิ่งได้จะอยู่ประมาณ 1/60 ถึง 1/250 วินาที แล้วแต่น้ำหนักของกล้อง ความเร็วต่ำกว่านี้จะเสี่ยงต่อการสั่นไหวของภาพอันเนื่องมาจากมือไม่นิ่ง แต่ถ้าติดตั้งกล้องบนขาตั้งซึ่งไม่มีการสั่นไหว ความเร็วชัตเตอร์ยิ่งสูงจะสามารถจับวัตถุเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่งได้ดีขึ้น เรื่อยๆ ในขณะที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำจะสามารถทำให้วัตถุเคลื่อนไหวพร่ามากขึ้น เรื่อยๆ ตามความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำลง ในการใช้ความเร็วชัตเตอร์ ผู้ใช้ต้องคำนึงถึงขนาดช่องรับแสงและปริมาณแสงที่มีในขณะนั้นด้วย ไม่สามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ตามใจได้ ยกตัวอย่างเช่น หากถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยมากๆ แต่ต้องการจับการเคลื่อนไหวของวัตถุจึงตั้งความเร็วชัตเตอร์สูงมากๆ ทำให้ปริมาณแสงที่ตกลงบนอิมเมจเซ็นเซอร์ไม่เพียงพอ แม้จะสามารถจับการเคลื่อนไหวของวัตถุได้ แต่ภาพที่ได้จะมืดทำให้เป็นภาพเสียแทน ผู้ใช้จึงต้องคำนึงถึงปริมาณแสงในขณะนั้นทุกครั้งที่เลือกใช้ความเร็ว ชัตเตอร์ด้วย (ดูจากสเกลเครื่องวัดแสงก็ได้)
ที่มาจาก : camera-station.com







วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติกล้อง

มนุษย์ในสมัยที่ยังไม่มีการประดิษฐ์คิดค้นกล้องถ่ายภาพขึ้นมานั้น  ใช้การวาดภาพในการบันทึกความทรงจำและสื่อความหมายต่างๆ  แต่ต่อมาในศตวรรษที่ 19 นั้น  มนุษย์ได้คิดค้นกระบวนการถ่ายภาพขึ้นจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 2 สาขา  คือ
1.) ฟิสิกส์  ได้แก่เรื่องของแสงและกล้องถ่ายภาพ
2.) เคมี  ได้แก่เรื่องเกี่ยวกับสารไวแสงและน้ำยาสร้างภาพ
การถ่ายภาพเป็นการรวม 2 หลักการที่สำคัญเข้าด้วยกัน  คือ  การทำให้เกิดภาพจำลองของวัตถุ  ไปปรากฏบนฉากรองรับ  และการใช้สื่อกลางในการบันทึกภาพจำลองให้ปรากฏอยู่ได้อย่างคงทนถาวร
อริสโตเติล  นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกเป็นผู้บันทึกหลักการแรกไว้เมื่อ 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช  ซึ่งมีใจความว่า..  "ถ้าเราปล่อยให้ลำแสงผ่านเข้าไปทางรูเล็กๆ ในห้องมืด  ถือกระดาษขาวให้ห่างจากรูรับแสงประมาณ 15 ซม. จะปรากฏภาพหัวกลับที่ไม่ค่อยชัดเจนนักบนกระดาษ"
ต่อมาจึงได้ใช้หลักการนี้ในการประดิษฐ์ "กล้องออบคิวรา" ซึ่งเป็นภาษาละติน  หมายถึง  "ห้องมืด"  หรือที่ชาวไทยเรียกกันว่า "กล้องรูเข็ม" นั่นเอง
วิชาถ่ายภาพตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Photography" มาจากคำศัพท์ในภาษากรีก  โดย "Phos = แสงสว่าง" และ "Graphein = เขียน"  เมื่อนำมารวมกันจึงหมายถึง "เขียนด้วยแสงสว่าง  แต่ในปัจจุบันนี้  หมายถึง  วิชาที่ว่าด้วยการทำให้ภาพเกิดขึ้นโดยใช้แสงสว่างมากระทบกับวัสดุไวแสง  และครอบคลุมไปถึงการถ่ายรูป  การล้างฟิล์ม  การอัดขยายภาพ  และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน
กล่าวโดยสรุป  วิชาการถ่ายรูปก็คือ  "ความรู้ที่ว่าด้วยกระบวนแห่งการสร้างรูปโดยอาศัยแสงสว่างเข้าช่วย"  นั่นเอง
สำหรับการถ่ายภาพในประเทศไทยนั้น  ได้มีช่างถ่ายภาพคนแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ท่านสังฆราชฝรั่งเศส นามปาเลอปัว  ส่วนช่างถ่ายภาพชาวไทยคนแรก คือ พระยากระสาปน์กิจโกศล หรือ นายโหมด  ต้นตระกูลอมาตยกุล  ซึ่งมีชื่อเสียงในการถ่ายภาพเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป  และช่างถ่ายภาพที่มีผลงานเก็บรักษาในหอสมุดแห่งชาติจำนวนมากจนถึงปัจจุบันนี้ คือ หลวงอัคนีนฤมิตร หรือ นายจิตร เป็นช่างหลวงในสมัยรัชการที่ 4 และ 5 ซึ่งมีผลงานภาพถ่ายบุคคลทุกชนชั้น  และยังมีภาพถ่ายสถานที่  ตลอดจนภาพเหตุการณ์ต่างๆ อีกด้วย
ชนิดของกล้อง